null

จัดจำหน่าย : MVD

ราคาปก : 299 (ราคาปกที่บอกนี่คือราคาบนปกพลาสติกนะครับ ส่วนราคาขายก็แล้วแต่ว่าซื้อที่ร้านไหน แต่รับรองว่าถูกกว่าราคาปกแน่นอน)

หนังที่สร้างจากเกมส์ไฟท์ติ้งสุดดังของ NEO-GEO แต่ขอโทษ หนัง…จริงๆครับ โดยเฉพาะ คุซานางิ เคียว ที่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นญี่ปุ่น แล้วมึงเอาฝรั่งมาเล่นทำไมเนี่ย มาแนวเดียวกับดราก้อนบอลเลย แถมในเรื่องนี่แบบว่า กากสัสๆครับ แทบไม่มีพลังอะไรเลย ส่วนเทอรี่ โบการ์ด ตัวโปรดของผม เหอะๆ ไร้ความเท่สิ้นดี เสื้อกั๊กยังกะเสื้อชูชีพ ส่วนยางามิ อิโอริ คู่แค้นสุดเท่ของเคียว เอ่อ มันหน่อมแน้มไปมั้ยอะ ที่เอามาโพสต์นี่เพื่อให้อย่าได้ตัดสินใจดุเรื่องนี้นะครับ โดยเฉพาะแฟนๆของเกมส์

ป.ล. ที่กล่าวมาทั้งหมดนี่เป็นแค่ คหสต ความเห็นส้นตีน เอ๊ย ความเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ บางคนดูแล้วอาจจะชอบก็ได้ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย แต่ในฐานะแฟนเกมส์คนนึง ขอบอกเลยว่า ไม่ชอบอย่างแรงงง!!!

หนังเรื่องใหม่ของป๋าเจ็ท ลีครับ The Sorcerer and the White Snake เป็นแนวแอ็คชั่นแฟนตาซีกำลังภายใน เรื่องนี้นางเอกคือ อีว่า หวง หรือ หวงเซิงอี้ จาก Kung Fu Hustle – คนเล็กหมัดเทวดา มาเล่นเป็น นางพญางูขาว ร่วมด้วย ชาร์ลีน ชอย จากวง Twins ในบทของ นางพญางูเขียว และอดีตเซ็กซี่สตาร์ชื่อดัง วิเวียน ซู ก็มาแจมในเรื่องนี้ด้วยครับ รับประกันความมันส์โดยเจ้าพ่อหนังฟันกระบี่ เฉิงเสี่ยวตง เรื่องนี้เป็น 3D ด้วยนะครับ และมีคิวที่จะฉายประมาณไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ฟอร์มใหญ่อย่างนี้ พี่ไทยคงไม่ปล่อยไปแน่ครับ

null

null
ส่วนตัวจะบอกว่าไม่ชอบแฮนด์บิลตัวนี้อย่างแรงงง!!!
null
null
เจ๊หวงของโผมมมม!!! อ๊ากกกก!!! สวยโฮกกกกก!!!! ไม่รู้เรื่องนี้จะมีฉากหวิวๆอะไรรึเปล่านะครับเนี่ย หุๆ
null
null
แฮนด์บิลหาได้แค่นี้ครับ ต่อไปนี้คือแกลลอรี่ต่างๆจากกองถ่ายที่พอจะหาได้นะครับ เปิดงานโดยป๋าเจ็ทก่อนเลยละกัน
null
อะจ๊าก!!! เหินหาววว!!!
null
เห็นแล้วนึกถึงเรื่อง The Forbidden Kingdom ขึ้นมาตะหงิดๆเลย
null
อ้าว!!! ไหงกลายเป็นชุดดำหว่า!!!
null
MIB = Monk in Black
null
พระถังซัมจั๋งชัดๆ หุๆ
null
เวิ่นจาง รับบทเป็นลูกศิษย์ของป๋าเจ็ท
null
ดูจากภาพนี้ เจ๊หวงของผมคงเสร็จตานี่แน่ๆ เค้าไม่ย๊อม!!! เอาเจ๊หวงของเค้าคืนมา!!!
null
โดนอะไรเข้าไปล่ะเนี่ย จมน้ำเลยnull
ถ่ายสวยจริงๆฉากนี้
null
ต่อไปนี้เป็นภาพเทคนิคพิเศษนะครับ
null
โชว์อิทธิฤทธิ์กันซะหน่อย
null
ภาพนี้ขอให้ชื่อว่า ดิ่งพสุธานางพญาอสรพิษ
null
 
เลื้อยผ่านดวงจันทร์จนเจ้ากระรอกน้อยถึงกับอึ้ง

หาได้เท่านี้แหละครับ เพราะบางภาพก็ยังไม่เป็นที่เปิดเผยออกมา ก็หวังว่าจะถูกใจบรรดาสาวกที่ติดตามกันมานะครับ ใครที่สนใจและมีเวลาว่างพอก็เก็บเงินรอตีตั๋วได้เลยครับ แล้วจะหาข่าวมาอัพเดทให้ในโอกาสต่อๆไปนะครับ

null

ต้นปี 2011 ก็มีหนังฟอร์มยักษ์มาเป็นของขวัญปีใหม่เช่นเดียวกับทุกๆปีนะครับ โดยเฉพาะหนังของลุงเฉินหลงที่จะออกฉายต้อนรับตรุษจีนจนเป็นธรรมเนียม ปีนี้ค่อนข้างพิเศษกว่าปีอื่นๆ เพราะสำหรับ Shaolin หรือในชื่อไทยว่า เส้าหลิน สองใหญ่ นั้น  ออกจะเป็นหนังที่ฟอร์มยักษ์กว่าปีที่ผ่านๆมา แน่นอนครับ เพราะมันเป็นงานกำกับของผู้กำกับจอมผลาญงบอย่าง เบนนี่ ชาน ที่ไม่ว่างานของพี่แกกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ก็จะมีแต่ความวินาศสันตะโรทุกเรื่อง แต่งานของเบนนี่ทุกเรื่องก็ล้วนแต่สอดแทรกสาระทั้งสิ้น สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Shaolin นั้นเรียกได้ว่า “จัดหนัก” จริงๆครับ เพราะได้รวบรวมซุปตาร์ชั้นนำของฮ่องกงหลายท่านมาไว้ในเรื่องนี้ อีกทั้งสิ่งที่นำเสนอ ทั้งการดำเนินเรื่อง การแสดง ความสนุก และสาระที่ได้ สำหรับผมถือว่าทำได้ดีและเหนือกว่าความคาดหมายครับ

สิ่งแรกที่ดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาร่วมชมได้ แน่นอนว่าต้องเป็นบรรดานักแสดงนำทุกท่าน ที่เรียกได้ว่า “มาเต็ม” จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นพระเอกใหญ่ อย่าง หลิวเต๋อหัว , สาวสวยมาดนางพญา ฟ่านปิงปิง , ตัวร้ายน้องใหม่แกะกล่อง เซียะถิงฟง , ยอดนักวูซูมาดเท่ อู๋จิง , อดีตศิษย์เส้าหลินตัวจริง สิงอวี๋ หรือ เหยียนเหนิง และขวัญใจขาบู๊ตลอดกาล ป๋าเฉินหลง ที่แท็กทีมกันมาสร้างความสนุกและเร้าใจให้กับผู้ชมอย่างต่อเนื่อง โดยฝีมือการกำกับของ เบนนี่ ชาน เจ้าพ่อหนังฟอร์มยักษ์ของฮ่องกง และการกำกับคิวบู๊โดย คอรี่ย์ หยวน หรือ หยวนขุย และ หลี่จงจื่อ ผู้กำกับคิวบู๊เจ้าประจำของ เบนนี่ ชาน แม้คิวบู๊จะไม่ได้มีมากมายนัก ทว่าสิ่งที่น่าประทับใจคือ ทุกตัวละครและความสนุกทั้งมวลนั้น เรียกได้ว่า คุ้มค่าแก่การสรรหามาชมจริงๆครับ

null

Shaolin เป็นผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง Shaolin Temple หรือในชื่อไทยว่า เสี้ยวลิ้มยี่ เมื่อปี 1982 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้คนทั่วโลกรู้จักดารานักบู๊นาม หลี่เหลียนเจี๋ย หรือ เจ็ท ลี แต่สำหรับ Shaolin นั้น เลือกที่จะเล่าเรื่องราวในยุคสุดท้ายของวัดเส้าหลินเก่า และศัตรูนั้นก็หาใช่ราชวงศ์ชิงไม่ หากแต่เป็นคนจีนด้วยกันและเหล่าทหารยุโรปที่ต้องการจะยึดครองอาณานิคมในบริเวณเมืองเติงเฟิงนั่นเอง เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ โหวเจีย(หลิวเต๋อหัว) และมือขวาคนสนิท เฉาหมั่น(เซียะถิงฟง)  ตามล่า นายพลฮั่วหลง(เฉินจื้อฮุย) ผู้เป็นอริเข้ามาถึงเขตวัดเส้าหลิน และได้มีเรื่องกระทบกระทั่งกับเจ้าอาวาสและพระภิกษุที่นั่น โหวเจียได้จัดการสังหารนายพลฮั่ว และลบหลู่ป้ายสำนักวัดเส้าหลินอย่างเลือดเย็น ทั้งยังนึกดูแคลนวัดเส้าหลินและเหล่าหลวงจีนในวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทว่า อำนาจมักไม่มั่นคงนัก เมื่อโหวเจียถูกเฉาหมั่น ผู้เป็นคนสนิททรยศ เพราะนึกเคียดแค้นในตัวผู้บังคับบัญชาคนนี้มานาน ที่มักเอาแต่ใจตนเอง และกีดขวางหนทางอำนาจของตน ครอบครัวของโหวเจียถูกเฉาหมั่นตามล่า โดยการส่ง ซั่วเซียงถู(สงซินซิน) ยอดมือสังหารมาเข่นฆ่าโหวเจีย เหยียนซี(ฟ่านปิงปิง) ผู้เป็นภรรยา และ เชิงหนัน ลูกสาวคนเดียวของเขา จนเชิงหนันได้รับบาดเจ็บสาหัส โหวเจียได้ไปขอร้องหลวงจีนที่วัดเส้าหลิน ที่ซึ่งตนเคยเหยียดหยามมาก่อนให้ช่วยเชิงหนัน แต่อนิจจา เชิงหนันบาดเจ็บสาหัสเกินกว่าที่เหล่าหลวงจีนจะช่วยชีวิตได้ทัน โหวเจียโกรธแค้นเหล่าหลวงจีน และนึกโทษว่าพวกเขาผูกใจเจ็บคราวที่ตนมาเหยียดหยามที่นี่ทำให้ไม่ยอมช่วยเหลือลูกสาวของตน เหยียนซีจึงได้เตือนสติโหวเจียว่า ที่เชิงหนันต้องตายก็เป็นเพราะผลของบาปกรรมที่เขาสร้างมันมาชั่วชีวิตต่างหาก ทำให้ชีวิตของเขาและครอบครัวต้องบ้านแตกสาแหรกขาดอย่างนี้

null

โหวเจียเริ่มสำนึกถึงผลของบาปกรรมที่ส่งให้ชีวิตเขาต้องประสบกับเพทภัย เขาเสียใจจนกลายเป็นคนจมทุกข์ กระทั่งพลาดท่าตกเข้าไปในหลุมดักสัตว์ของ หูเต่า(เฉินหลง) พ่อครัวของวัดเส้าหลิน การใช้ชีวิตอย่างสมถะของหูเต่าทำให้โหวเจียได้รู้ซึ้งถึงสัจธรรมและตัดสินใจที่จะบวชเพื่อละทิ้งทุกสิ่งในทางโลก รวมทั้งเพื่อไถ่บาปที่ตนเองเคยกระทำเอาไว้ในอดีตด้วย โหวเจียได้บวชเป็นหลวงจีนและได้สมณะนามว่า ชิงเจี่ย ที่นี่นอกจากเจ้าอาวาสแล้ว เขายังมีสหายเป็นสามทหารเสือ ศิษย์เอกทั้งสามของเส้าหลินได้แก่ ชิงเหนิง(อู๋จิง) ศิษย์พี่ใหญ่ผู้เงียบขรึม , ชิงคง(สิงอวี๋) ตัวเกรียนประจำวัด และ ชิงไห่(หยูเส้าชุน) ศิษย์น้องผู้กะล่อนเป็นปลาไหล ที่นี่โหวเจียได้ศึกษาทั้งพระธรรม สัจธรรม และวรยุทธ์แห่งเส้าหลินด้วย

ทว่าวันหนึ่ง โหวเจียในเพศบรรพชิตได้เข้าไปขัดขวางการกระทำอันชั่วช้าของทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือทหารของเฉาหมั่นนั่นเอง เมื่อความทราบถึงเฉาหมั่น เขาก็หมายมั่นที่จะเอาชีวิตโหวเจียให้ได้ เฉาหมั่นจึงร่วมมือกับทหารฝรั่งเพื่อตามล่าโหวเจีย และทำลายวัดเส้าหลิน โดยอ้างว่าจะสร้างทางรถไฟใกล้เมืองเติงเฟิง ทว่าเป้าหมายที่แท้จริงนั้นคือต้องการที่จะขโมยสมบัติของชาติต่างหาก ทำให้โหวเจียและบรรดาหลวงจีนแห่งวัดเส้าหลิน ต้องรวบรวมกำลังและวรยุทธ์ทั้งหมดที่มีต่อสู้กับเหล่าทหารฝรั่งและบรรดาคนขายชาติเพื่อรักษาวัดเส้าหลินให้ได้

ตัวละครหลัก


null

โหวเจีย(หลิวเต๋อหัว) จากนายพลผู้ทระนง สู่หลวงจีนแห่งวัดเส้าหลิน เขาถูกเฉาหมั่นผู้เป็นพี่น้องทรยศ จนต้องหันหน้าเข้าสู่วัดเส้าหลิน สถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยเหยียดหยามเอาไว้ จนได้พบถึงสัจธรรมที่่เที่ยงแท้

null

เฉาหมั่น(เซียะถิงฟง) มือขวาคนสนิทที่เปรียบเสมือนน้องชายของโหวเจีย ทรยศโหวเจียเพราะความทะเยอทะยานและไม่ต้องการเป็นเบี้ยล่างของโหวเจีย เป็นคนโหดเหี้ยม อำมหิต และมีวรยุทธ์สูง

null

เหยียนซี(ฟ่านปิงปิง) ภรรยาของโหวเจีย ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของสามี แต่ก็ไม่กล้าเถียง จนเมื่อลูกสาวเสียชีวิต เธอจึงได้เตือนสติให้โหวเจียรับรู้ถึงผลกรรมที่เขาได้เคยก่อเอาไว้

null

ชิงเหนิง(อู๋จิง) ศิษย์พี่ใหญ่แห่งวัดเส้าหลิน เป็นคนนิ่งๆ สุขุม เงียบขรึม ค่อนข้างจริงจังกับชีวิต  เป็นพี่ที่น้องๆให้ความเคารพอย่างสูง และยังเป็นผู้ฝึกสอนวรยุทธ์เส้าหลินให้กับบรรดาเณรและหลวงจีนด้วย

null

ชิงคง(สิงอวี๋) ศิษย์เอกคนรองแห่งวัดเส้าหลิน เป็นคนขี้เล่น ทำอะไรไม่ค่อยคิด ใจร้อน วู่วาม แต่พอเวลาโกรธหรือเอาจริงขี้นมา ก็ไม่มีใครหยุดเขาเอาไว้ได้เหมือนกัน

null

ชิงไห่(หยูเส้าชุน) ศิษย์เอกคนที่สามแห่งวัดเส้าหลิน เป็นคนเจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกง เอาตัวรอดเก่ง ครั้งหนึ่งเคยออกความคิดไปขโมยข้าวมาแจกจ่ายชาวบ้านที่หิวโหยเพื่อให้ดูเท่เล่นๆ

null

หูเต่า(เฉินหลง) พ่อครัวแห่งวัดเส้าหลิน อดีตหลวงจีนผู้ผันตัวเองมาทำงานในครัว ใช้ชีวิตอย่างสมถะตามประสาชายวัยกลางคน ดูเรื่อยเปื่อย ชอบเล่นกับบรรดาเณรน้อย ส่วนวรยุทธ์นั้น…?

วัดเส้าหลิน เป็นชื่อของวัดที่คอหนังจีนและคอนวนิยายกำลังภายในรู้จักกันดี เพราะที่แห่งนี้เป็นสถานที่ก่อกำเนิดวรยุทธ์หลายแขนงทั่วยุทธภพ ทั้งยังก่อเกิดหลายชีวิตที่เป็นวีรบุรุษในประวัติศาสตร์จีน และได้รับเลือกให้เป็นฉากหลังของนวนิยายและหนังกำลังภายในต่างๆหลายร้อยเรื่อง กระทั่งมาจนถึงยุค 2011 สถานที่ที่เป็นเสมือนตำนานนี้ก็ถูกปลุกให้มีชีวิตอีกครั้ง โดย เบนนี่ ชาน แม้จะได้แรงบันดาลใจมาจากหนังเรื่อง Shaolin Temple เมื่อปี 1982 ทว่าสำหรับ Shaolin ฉบับนี้ก็มีแนวทางการดำเนินเรื่องที่เป็นสไตล์ของตนเอง (หรือจะบอกว่าเป็นสไตล์ของ เบนนี่ ชาน เองก็ไม่ผิด) โดยแทนทีจะกระหน่ำฉากบู๊เข้าไป ตามแบบหนังกำลังภายในทั่วไปที่มีวัดเส้าหลินเป็นแบ็คกราวนด์ เบนนี่เลือกที่จะนำเสนอ Shaolin ในด้านของอารมณ์ดราม่า และสอดแทรกสาระ รวมถึงปรัชญาของพุทธศาสนา ที่ว่าด้วยเรื่องของผลกรรมเป็นหลัก ที่ส่งให้บรรดาตัวละครหลายตัวในเรื่องต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนเองไปอย่างสิ้นเชิง

ตัวละครที่เห็นได้ชัด คือ โหวเจีย พระเอกของเรื่องนั่นเอง จากนายพลผู้มีอำนาจสูงสุดในกองทัพ ถึงขนาดเหยียบย่ำวัดเส้าหลินได้ตามอำเภอใจ กลับต้องถูกคนสนิทของตนนั่นคือ เฉาหมั่น ทรยศจนต้องกลายเป็นคนเร่ร่อนเพียงชั่วข้ามคืน ทั้งยังสูญเสียบ้านและลูกสาวคนเดียวไปอีกด้วย โชคยังดีที่ได้ธรรมะจากวัดเส้าหลินช่วยขัดเกลาจิตใจให้อยู่ในธรรม และปวารณาตนเป็นหลวงจีนในที่สุด เมื่อลองย้อนนึกดู สิ่งที่ทำให้โหวเจียต้องบ้านแตก และถูกลูกน้องทรยศ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะตัวโหวเจียเองที่เอาแต่ใจ และกดขี่เฉาหมั่นผู้เป็นลูกน้องตลอดเวลา บวกกับที่เฉาหมั่นมีความโหดเหี้ยมอำมหิตและความทะเยอทะยานอยู่ในจิตใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่โหวเจียจะถูกลูกน้องของตนทรยศลงอย่างเลือดเย็น นี่แหละครับ ทำอะไรก็ต้องรับผลกรรมที่ตัวเองเคยทำไว้ เคยไล่ล่าเขาอยู่ ไม่ช้าก็เร็ววันหนึ่งก็ต้องถูกคนอื่นเขาไล่ล่าเอาอยู่ดี เฮ้อ ชีวิตนี้มีแต่ความไม่เที่ยงจริงๆ

null

แม้จะจั่วหัวตนเองว่าเป็นหนังดราม่าแอ็คชั่น ทว่าเอาเข้าจริงๆแล้ว หนังก็มีมุมอบอุ่นอยู่ไม่น้อย ซึ่งมุมเหล่านั้นก็ล้วนแล้วแต่มาจากตัวของบรรดาหลวงจีนในวัดนั่นเอง ที่มีความเป็นกันเอง โดยเฉพาะกับตัวโหวเจีย โดยไม่ใส่ใจว่าเขาเคยเหยียดหยามวัดและเหล่าหลวงจีนมาก่อน ขอเพียงแต่เป็นผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ทางวัดก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือโดยไม่ขัดข้อง นอกจากนี้ ทั้งเจ้าอาวาส และเหล่าหลวงจีนก็ยังปฏิบัติกับโหวเจียอย่างเป็นมิตร ที่นี่ทำให้โหวเจียได้รู้จักถึง “การให้” เช่นในฉากที่พ่อครัวหูเต่าพาโหวเจียไปแจกหมั่นโถวแก่ชาวบ้านที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก หรือฉากที่เด็กๆเอาหมั่นโถวมาให้โหวเจียที่บวชเป็นหลวงจีนชิงเจี่ยแล้วเป็นการตอบแทน เป็นนัยยะที่เสนอเกี่ยวกับเรื่องราวของการให้ที่ไม่สิ้นสุด หากเราอยากให้เขาให้ ก็จงให้เขาก่อน เพราะหลวงจีนต้องการให้โหวเจียปฏิบัติด้วยดี จึงปฏิบัติด้วยดีกับโหวเจียก่อน ไม่ต่างกัน หากโหวเจียเป็นมิตรกับชาวบ้าน แล้วชาวบ้านจะเป็นอริกับโหวเจียได้อย่างไร

และก็เพราะโหวเจียที่ร้ายกับเฉาหมั่นก่อน เฉาหมั่นจึงต้องร้ายกับโหวเจียตอบ สำหรับบทบาทของเฉาหมั่นนั้น รับหน้าที่โดย เซียะถิงฟง เป็นผู้ถ่ายทอด สำหรับเซียะถิงฟงนั้นก็เป็นเด็กปั้นของเบนนี่เช่นเดียวกัน และแจ้งเกิดมาจากบทพระเอกเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ก่อนนั้นเท่าที่ผมติดตามงานของเขามา ผมรู้สึกไม่ค่อยชอบการแสดงของตาเซียะเท่าไหร่ เพราะเล่นยังไงก็ไม่เป็นธรรมชาติ หน้าตาเวลาโกรธก็ทำเหมือนงอน จึงรู้สึกขัดใจเล็กน้อยที่ทราบว่า เซียะถิงฟงเล่นเป็นตัวร้ายในเรื่องนี้ เพราะตัวร้ายแต่ละตัวของเบนนี่มาลุคเดียวกันหมด คือไม่โหด แต่เหี้ยม ดูเป็นผู้นำ และมักขู่คนอื่นทางสายตาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่พอได้ดูจริงๆ ไม่เลยครับ เซียะถิงฟงถ่ายทอดออกมาได้ดีพอสมควร ดูแล้วน่าหมั่นไส้จริงๆ อาจเป็นเพราะคาแรคเตอร์ของเขาดูเป็นคนขรึมๆอยู่แล้ว ทำให้เซียะถิงฟงดูเข้ากับบทเฉาหมั่นจริงๆ ต้องขอชื่นชมเซียะถิงฟง ที่พลิกคาแรคเตอร์มาเป็นตัวร้ายที่ถือว่าเหนือความคาดหมายเป็นอย่างมาก สำหรับผม ผมพอใจกับบทนี้ของเขามากจริงๆ

null

ส่วนที่มาเป็นแก๊งก็ได้แก่สามทหารเสือแห่งวัดเส้าหลินอย่าง ชิงเหนิง ชิงคง และชิงไห่ ที่รับบทโดย อู๋จิง สิงอวี๋ และหยูเส้าชุนตามลำดับ ดังที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น คงจะพอทราบแล้วใช่มั้ยครับว่า ตัวละครทั้งสามตัวนี้มีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ชิงเหนิงเป็นศิษย์พี่ใหญ่ผู้เคร่งเครียดและเคร่งครัด ทั้งยังมีความสุขุมตามอายุ ในขณะที่ชิงคงยังคงเที่ยวเล่นและมักจะตั้งแก๊งกับชิงไห่ไปก่อวีรกรรมวีรเวรให้เป็นที่ปวดเศียรเวียนเกล้าเสมอๆ โดยเฉพาะการปลอมตัวเป็นจอมโจรคุณธรรม ขโมยข้าวสารมาแจกจ่ายชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก แม้จะเป็นวีรกรรมซนๆที่ดูไม่ต่างจากเด็กๆ แต่พอถึงเวลาที่ต้องต่อสู้ หรือต้องกอบกู้คุณธรรม พวกเขาก็ใช้ความสามารถในเชิงวรยุทธ์มารับมือได้เป็นอย่างดี และจิตใจของพวกเขาก็เด็ดเดี่ยวกล้าหาญและจริงจังกับชีวิตไม่แพ้ศิษย์พี่ใหญ่อย่างชิงเหนิงเลยทีเดียว

และที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คงไม่พ้นเจ้าพ่อหนังกังฟูอย่างป๋าเฉินหลง ที่กลับมาคราวนี้เพื่อพลิกคาแรคเตอร์เป็น หูเต่า พ่อครัวในวัดเส้าหลิน ซึ่งผมคิดว่าเหมาะกับคาแรคเตอร์ของเฉินหลงมากทีเดียว หูเต่าเป็นชายวัยกลางคนที่เคยบวชเป็นหลวงจีนมาก่อน ทว่าสึกเสียเพราะคิดว่าตนยังละทางโลกไม่ได้ แต่ถ้าใครที่ได้ชมแล้วลองมองดู จะพบว่าแท้จริงแล้วหูเต่าละทางโลกได้ดีกว่าพระบางรูปเสียอีก แม้ภายนอกหูเต่าจะดูเป็นชายวัยกลางคนที่ค่อนข้าง “ลัลล้า” กับชีวิตในช่วงบั้นปลาย แม้จะไม่ได้มีเงินทองมากมาย ไม่มีสุราเคล้านารี แต่หูเต่าก็ยังมีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างสมถะในวัดเส้าหลิน มีความสุขกับการทำภัตตาหารเจให้หลวงจีนฉัน มีความสุขกับการได้เล่นหัวหยอกล้อกับบรรดาเณรน้อยที่แวะเวียนมาเป็นลูกมือในการทำอาหารอยู่ทุกมื้อมิได้ขาด หูเต่าจึงเป็นตัวละครที่สื่อถึงการพบกับความสุขที่แท้จริงในชีวิต ความสุขที่มาพร้อมกับคำว่า “พอ” ความสุขที่หาจากที่ไหนไม่ได้นอกจากตัวเราเองเท่านั้น จึงจะเป็นผู้ค้นพบ และให้คำตอบกับทุกสิ่งในชีวิตได้

null

เมื่ออยู่ในวัดเส้าหลิน จะให้พูดถึงพระอย่างเดียวก็คงไม่ได้ เพราะอีกสัญลักษณ์หนึ่งของวัดเส้าหลินก็คือ วรยุทธ์นั่นเอง ใช่แล้วครับ สิ่งที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ก็คือในเรื่องของคิวบู๊นั่นเอง ซึ่งคิวบู๊ในเรื่องนั้นอยู่ในการกำกับดูแลของ คอรีย์ หยวน หรือ หยวนขุย ผู้อยู่เบื้องหลังคิวบู๊ของหนังดังๆหลายเรื่อง ล่าสุดก็ใน Red Cliff 1-2 (สามก๊ก โจโฉ แตกทัพเรือ 1-2) ที่หลายคนคงประทับใจกับลีลาบู๊ของท่าน จิวยี่ และกลยุทธ์อันเหนือชั้นของท่าน ขงเบ้ง ไปไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับใน Shaolin นั้นผมก็รู้สึกประทับใจที่ได้มาดูการกำกับคิวบู๊แบบกังฟูของหยวนขุยอีกครั้ง ที่ยังสร้างความสนุกและเร้าใจไม่แพ้งานเก่าๆของเขาเลย ไม่ว่าจะเป็นฉากต่อสู้ในต้นเรื่อง ระหว่างเฉาหมั่นกับชิงเหนิงที่งานนี้บรรดาทีมงานขอตามกระแส หย่งชุน กับเขาอีกราย ด้วยการสร้างให้เฉาหมั่นใช้หมัดหย่งชุนต่อสู้กับวรยุทธ์เส้าหลินของชิงเหนิง ได้ดูหมัดหย่งชุนเวอร์ชั่นหยวนขุยก็รู้สึกแปลกตาไปอีกแบบนะครับ หลังจากที่ชมเวอร์ชั่นของหงจินเป่า และหยวนหวูปิงกันมาบ้างแล้ว

คิวบู๊ในเรื่องมีการผสมผสานระหว่างกังฟูและการโลดโผน ปนกายกรรมนิดๆ และการใช้อาวุธสุดคลาสสิคอย่างพลอง ฉากที่ชิงคงและชิงไห่ปลอมตัวใส่ชุดไอ้โม่งเพื่อขโมยข้าวมาแจกจ่ายชาวบ้าน แล้วโลดแล่นไปบนหลังคาบ้าน ชวนให้นึกถึงหนังเรื่อง Iron Monkey (มังกรเหล็กตัน) หนังสุดมันส์อีกเรื่องของ หยวนหวูปิง สมัยปี 1993 ไม่น้อย เพราะในเรื่องนั้น “วานรเหล็ก” ก็เป็นศิษย์เส้าหลินเช่นเดียวกัน สำหรับในเรื่องนี้เราก็ได้เห็นท่าเตะสวยๆของเฮียอู๋จิงเช่นเดิม รวมทั้งการได้เป็นตัวขโมยซีน(ซะที)ของสิงอวี๋ หลังจากที่ไปเป็นตัวประกอบอดทนในหนังของผู้กำกับ วิลสัน ยิป มาซะหลายเรื่อง แม้บทจะไม่เยอะมาก แต่ก็นับว่าได้ใจผู้ชมไปไม่น้อย ส่วนใครที่ยังไม่ได้ชมและอยากทราบว่าป๋าเฉินหลงของเราจะมาออกลีลาฟัดเช่นเคยหรือไม่ อันนี้ก็ลองพิจารณาจากสังขารของป๋าแล้วไปติดตามชมกันเองในหนังจะเป็นการดีกว่านะครับ (ตอนนี้ก็มีเป็น VCD และ DVD เรียบร้อยแล้ว)

null

นอกจากการดำเนินเรื่อง การถ่ายทอดอารมณ์ของนักแสดงนำแต่ละท่าน คิวบู๊อันดุเดือดเร้าใจ รวมถึงสาระที่สอดแทรกอย่างแน่นหนาและเต็มเปี่ยมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้หนังเรื่องนี้ดูได้อย่างประทับใจ และเต็มอิ่มกับอารมณ์อีกไม่น้อย ก็คือเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ที่มีชื่อว่า Wu(อู่) แปลว่า รู้แจ้ง ซึ่งผู้ที่ขับร้องเพลงนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เฮียหลิวเต๋อหัว พระเอกของเรื่องนั่นเอง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วขอบอกว่าชอบเพลงนี้มากครับ เป็นเพลงที่เพราะมากๆอีกเพลงหนึ่งของเฮียหลิว ทราบมาว่าเฮียหลิวเขียนเนื้อเองด้วย ถ้าที่ผมทราบมาเป็นเรื่องผิดพลาดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ สำหรับเพลง อู่ นั้นเนื้อหาก็จะพูดถึงเกี่ยวกับการรู้แจ้ง และการละซึ่งกิเลสทั้งหลาย ทำนองและเมโลดี้จะคล้ายๆกับซาวนด์แทร็คในหนังเรื่อง Braveheart (วีรบุรุษหัวใจมหากาฬ) ของ เมล กิ๊บสัน แต่รับรองว่าไพเราะและยิ่งใหญ่สมกับที่เป็นเพลงประกอบหนังฟอร์มยักษ์เรื่องนี้อย่างแน่นอนครับ

เป็นเวลานานแล้วนะครับ ที่ไม่ได้ดูหนังกังฟูที่เปี่ยมด้วยสาระมากเท่ากับเรื่องนี้ นับตั้งแต่ Ip Man 2 เป็นต้นมา ที่ผ่านมาหนังกังฟูและกำลังภายในส่วนใหญ่มักเต็มไปด้วยฉากฆ่าฟันและการล้างแค้นกันไปมาแบบไร้สาระ แต่พอมาถึง Shaolin นับว่าเป็นหนังกังฟูที่มีสาระมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เท่าที่มีการสร้างกันมา ทั้งหมดต้องยกให้เป็นความดีความชอบของบรรดาทีมงานที่ร่วมกันสรรค์สร้างมันออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม และคงจะได้รับเสียงชื่นชมไปอีกนานแสนนาน สำหรับความทุ่มเทในทุกด้านที่มีให้กับหนังเรื่องนี้ ทำให้มันเป็นหนังที่ใกล้เคียงกับคำว่า “Perfect” มากที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง ชวนให้นึกถึงชื่อภาษาอังกฤษของหนัง Shaolin อันหมายถึงเส้าหลินตรงๆ โดยที่ไม่ต้องมีคำว่า Temple ที่แปลว่าวัดต่อท้าย นั่นอาจหมายถึง เส้าหลิน หาใช่เป็นเพียงแค่วัด ทว่าคือหนึ่งในเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ดั่งคำที่กล่าวไว้ว่า “ในใจมีเส้าหลิน ทุกที่ย่อมมีเส้าหลิน” และแน่นอนว่า เบนนี่ ชาน ได้ทำให้เส้าหลินเข้าไปอยู่ในใจของผู้ชมทุกท่านเรียบร้อยแล้ว

null

ฉากเด็ด
ฉากที่เชิงหนัน ลูกสาวของโหวเจียที่บาดเจ็บสาหัส และสั่งเสียกับผู้เป็นพ่อให้วางความอาฆาตหลวงจีนลงเสีย นับว่าเป็นฉากระเบิดอารมณ์ของทั้งเฮียหลิวและเจ๊ฟ่าน ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกที่กดดัน และเรียกน้ำตาแก่ผู้ชมได้มากที่สุดอีกฉากหนึ่งเลยทีเดียว

เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ Wu(อู่) หรือ รู้แจ้ง ไปฟังกันนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย Wikipedia

Directed by Benny Chan
Produced by Benny Chan
Written by Alan Yuen
Starring Andy Lau
Nicholas Tse
Jackie Chan
Fan Bingbing
Wu Jing
Music by Nicolas Errèra
(additional music : Anthony Chue)
Cinematography Anthony Pun
Editing by Yau Chi-wai
Studio Emperor Motion Pictures
China Film Group Corporation
Huayi Brothers Media Corporation
Beijing Silver Moon Productions Ltd.
China Songshan Shaolin Temple Culture Communication Center
Distributed by Emperor Motion Pictures
Release date(s) 19 January 2011 (China)
27 January 2011 (Hong Kong)[1]
Running time 131 minutes
Country Hong Kong
China
Language Cantonese[1]
Mandarin [2]

null

ปี 1972 มีหนังเรื่องหนึ่งที่ทำให้โลกทั้งโลกต้องรู้จักราชากังฟูหน้าหยกนามว่า บรู๊ซ ลี หรือ หลี่เสี่ยวหลง หนังเรื่องนั้นคือ Fist of Fury หรือในชื่อไทยว่า ไอ้หนุ่มซินตึ๊งล้างแค้น หนังทำรายได้ถล่มทลายเป็นประวัิติการณ์ และกลายเป็นแบบอย่างให้กับหนังกังฟูในยุคต่อๆมา ด้วยความคลาสสิคและความสนุกจนไม่คิดว่าจะมีหนังกังฟูเรื่องใดทำได้เท่าเทียม ทว่าในเวลาอีก 22 ปีต่อมา ผู้กำกับ กอร์ดอน ชาน เล่นของสูงโดยการหยิบหนังกังฟูสุดอมตะเรื่องนี้มารีเมค โดยให้ หลี่เหลียนเจี๋ย หรือ เจ็ท ลี รับบทนำเป็น เฉินเจิน ตัวเอกของเรื่อง ซึ่งเป็นตัวละครเดียวกับที่ บรู๊ซ ลี เคยเล่นเอาไว้ และให้ หยวนหวูปิง มารับหน้าที่กำกับคิวบู๊ให้ ผลคือมันเป็นงานรีเมคที่เจ๋งสุดขั้ว และกลายเป็นหนังที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 20 ของหลี่เหลียนเจี๋ย (ส่วนศตวรรษที่ 21 คือ Fearless)

ด้วยความลงตัวหลายประการ อีกทั้งเอกลักษณ์ที่มีแนวทางในการดำเนินเรื่องของตนเองในอีกรูปแบบหนึ่่งที่ต่างไปจากฉบับออริจินอล ทำให้ Fist of Legend เป็นหนังที่ดูสนุกไม่แพ้ฉบับออริจินอลเลยทีเดียว อีกทั้งยังแสดงการคารวะฉบับออริจินอลด้วยการสอดแทรกฉากที่จัดได้ว่าเป็นฉากคลาสสิคของฉบับออริจินอลมาไว้ในหนังด้วย โดยเป็นการนำเสนอที่แตกต่างออกไป แต่ยังคงความสะใจ และสนุกดุเดือดไว้ ตามสไตล์หนังกังฟูเกรดเอเช่นเคย อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ทราบว่าเป็นความบังเอิญหรือความตั้งใจกันแน่ ที่อายุของหลี่เหลียนเจี๋ยในขณะที่หนังเรื่องนี้ออกฉาย ตรงกันกับอายุของบรู๊ซ ลีในช่วงที่ Fist of Fury ออกฉายพอดี คือเมื่ออายุได้ 31 ปี ซึ่งก็ไม่ทราบนะครับว่าเพราะอะไร แต่ที่แน่ๆ ทั้งสองเรื่องล้วนเป็นหนังกังฟูที่เมื่อคอกังฟูได้ชมแล้ว ต้องเอ่ยปากว่า “เจ๋ง” อย่างแน่นอน

null

Fist of Legend มีฉากหลังในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่ญี่ปุ่นบุกยึดครองจีน ชาวจีนถูกชาวญี่ปุ่นปรามาสว่าเป็นขี้โรคเอเชีย ณ ห้วงเวลานี้ได้บอกเล่าเรื่องราวของ เฉินเจิน(หลี่เหลียนเจี๋ย) ศิษย์เอกแห่ง สำนักจิงอู่ ที่ไปร่ำเรียนวิทยาการถึงญี่ปุ่น และมีคนรักเป็นนักเรียนสาวชาวญี่ปุ่นที่เรียนอยู่คลาสเดียวกันชื่อ ยามาดะ มิตสึโกะ (ชิโนบุ นาคายาม่า) แม้กระนั้นเฉินเจินก็ยังถูกชาวญี่ปุ่นเหยียดหยาม โดยเฉพาะเหล่านักคาราเต้สังกัดพรรคโคคุริว จนวันหนึ่งเฉินเจินได้รู้ข่าวเรื่องที่ ฮั่วหยวนเจี่ย ผู้เป็นอาจารย์เสียชีวิตระหว่างการประลองกับ อาคุตากาว่า เรียวอิจิ(แจ็คสัน หลิว) เขาจึงกลับไปที่สำนักจิงอู่ เพราะไม่เชื่อว่าอาจารย์จะพ่ายแพ้ให้กับคู่ต่อสู้ ในที่สุดเฉินเจินก็พบว่าแท้จริงแล้วอาจารย์โดนวางยาพิษต่างหาก เฉินเจินจึงขอความร่วมมือกับ ฮั่วถิงเอิน(เฉินเสี่ยวหาว) ลูกชายของฮั่วหยวนเจี่ยผู้เปรียบเสมือนพี่ชายของเขาในการสืบหาฆาตกรที่วางยาพิษฮั่วหยวนเจี่ย การกลับมาของเฉินเจินในครั้งนี้ สร้างความปลาบปลื้มให้กับพี่น้องร่วมสำนักเป็นอย่างมาก เพราะฝีมือของเฉินเจินนั้นไม่ได้ด้อยไปกว่าถิงเอินเลย หนำซ้ำเขายังสามารถเอาชนะเรียวอิจิได้อีก เป็นการพิสูจน์ว่าฮั่วหยวนเจี๋ยไม่ได้เสียชีวิตเพราะพ่ายแพ้เรียวอิจิเป็นแน่ เพราะแค่ตัวเฉินเจินเองซึ่งเป็นลูกศิษย์ของฮั่วหยวนเจี๋ยเอง เรียวอิจิยังสู้ไม่ได้เลย

ทว่าวันหนึ่งก็มีศพของเรียวอิจิปรากฏอยู่หน้าสำนักโคคุริว มีข้อความเขียนป้ายความผิดให้กับเฉินเจินว่าเป็นคนสังหารเรียวอิจิ จนเฉินเจินต้องโดนจับกุมตัว ร้อนถึงมิตสึโกะต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาแก้ต่างให้กับเฉินเจินจนพ้นคดี แต่มิตสึโกะเองก็กลายเป็นบุคคลล้มละลายไปแล้วเช่นกัน จึงมาขออาศัยกับเฉินเจิน เฉินเจินเองซึ้งในน้ำใจมิตสึโกะที่ช่วยเหลือตนจึงคิดจะให้มิตสึโกะมาอยู่ร่วมสำนักด้วย ทว่าพี่น้องในสำนักไม่ยอมรับมิตสึโกะ เพราะเห็นว่าเธอเป็นชาวญี่ปุ่น ท้ายที่สุดเฉินเจินต้องยอมออกจากสำนักเพื่อตัดปัญหา แม้จะต้องโดนประชาชนของทั้งสองชาติรุมประณามก็ตาม เฉินเจินและมิตสึโกะได้ปลูกกระท่อมที่สุสานของฮั่วหยวนเจี่ยผู้เป็นอาจารย์ ทว่าก็ยังหนีไม่พ้นยอดฝีมืออันดับหนึ่งแห่งพรรคโคคุริวอย่าง ฟูมิโอะ ฟูนาโกชิ(ยาสุอากิ คุราตะ) ที่หมายพิสูจน์ฝีมือกับเฉินเจิน และยังมีอีกหนึ่งศัตรูตัวฉกาจคือ นายพลฟูจิตะ โก(บิลลี่ โจว) จอมกระหายเลือดผู้เป็นคนสังหารเรียวอิจิตัวจริงภายในสองกระบวนท่า อีกทั้งยังหมายกวาดล้างสำนักจิงอู่อีกด้วย ทำให้เฉินเจินต้องลุกขึ้นต่อสู้ แม้จะรู้ดีว่าสำนักจิงอู่ที่เขาเคยร่ำเรียนวิชามาจะไม่ได้ยืนเคียงข้างเขาอีกแล้วก็ตาม

ตัวละครหลัก

null

เฉินเจิน(หลี่เหลียนเจี๋ย) ศิษย์เอกของฮั่วหยวนเจี่ย มีฝีืมือเก่งกาจจนเป็นที่ยกย่อง แต่เพราะมีคนรักเป็นชาวญี่ปุ่นจึงถูกตราหน้าว่าขายชาติ นิสัยเป็นคนนิ่งๆ ขรึมๆ อารมณ์แปรปรวนบ้าง แต่มีไหวพริบดี

null

ยามาดะ  มิตสึโกะ(ชิโนบุ  นาคายาม่า) คนรักของเฉินเจินที่คบกันสมัยเรียน ภายหลังเฉินเจินกลับเมืองจีน ก็โดนพิษการเมืองเล่นงานจนสิ้นเนื้อประดาตัว แต่ด้วยความรักทำให้เธอตัดสินใจไปหาเฉินเจินที่เมืองจีนและช่วยแก้ต่างคดีให้ แต่กลับกลายเป็นว่าต้องทำให้เฉินเจินออกจากสำนักจิงอู่ ทำให้เธอรู้สึกผิดกับเรื่องนี้มาก

null

ฮั่วถิงเอิน(เฉินเสี่ยวหาว) ลูกชายของฮั่วหยวนเจี่ย เป็นเสมือนพี่ชายของเฉินเจิน แต่การกลับมาของเฉินเจินในฐานะฮีโร่ของศิษย์สำนักจิงอู่ ทำให้เขาแอบอิจฉาเฉินเจินอยู่ลึกๆ แต่จริงๆแล้วเป็นคนมีเหตุผล แม้บางครั้งจะชอบใช้กำลังตัดสินปัญหาก็ตาม มีคนรักเป็นนางคณิกาชื่อ เสี่ยวหงส์

null

ฟูมิโอะ  ฟูนาโกชิ(ยาสุอากิ  คุราตะ) ยอดฝีมืออันดับหนึ่งแห่งพรรคโคคุริว และเป็นคนที่มิตสึโกะนับถือ  แม้จะอยู่คนละฝ่ายกับเฉินเจิน แต่แท้จริงแล้วก็เป็นลูกผู้ชายคนหนึ่ง บางคราวอาจวางมาดพูดอะไรน่ากลัวไปบ้าง แต่ความจริงแล้วเป็นคนใจดี

null

ฟูจิตะ  โก(บิลลี่  โจว) นายพลแห่งกองทัพญี่ปุ่น  ฉายา “จอมกระหายเลือด” เป็นคนเลือดเย็น โหดเหี้ยม และมีฝีมือลึกล้ำ ทำไ้ด้ทุกวิถีทางเพื่อหาทางเอาชนะศัตรู ซึ่งเจ้าตัวมักจะอ้างว่า มันเป็น “กลยุทธ์” และพร้ิอมที่จะกำจัดพวกเดียวกันได้ทุกเมื่อ  ทันทีที่รู้สึกไ้ด้ถึงความไม่ชอบมาพากล

เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของชาวจีน ยังคงเป็นบ่อเกิดแห่งเนื้อเรื่องอันคลาสสิค เกี่ยวกับวีรบุรุษชาวจีนได้ทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่อดีตกาลนับพันปีก่อน กระทั่งเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมา กับเรื่องราวในต้นฉบับอย่าง Fist of Fury จุดประสงค์หลักของเรื่องนั้นก็คือการปลุกระดมให้เกิดความเป็นชาตินิยมอย่างสุดขั้ว และปฏิวัติตนเองจากการถูกดูหมิ่นเหยียดหยามโดยประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ Fist of Legend กลับมองญี่ปุ่นโดยเปิดใจมากขึ้น สร้างตัวละครของชาวญี่ปุ่นให้มีทั้งดี(มิตสึโกะ , ฟูนาโกชิ) และร้าย(ฟูจิตะ , นักเรียนพรรคโคคุริว) เพื่อให้ผู้ชมได้เปิดใจ ว่าคนญี่ปุ่นในยุคนั้นแท้จริงก็ไม่ได้เลวร้ายไปเสียหมด ที่เลวร้ายจริงๆก็เฉพาะทางทหารเท่านั้น แต่ชาวญี่ปุ่นที่เป็นพลเรือนก็พลอยโดนร่างแหถูกชาวจีนเกลียดชังไปด้วย และเพราะความที่ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ประชาชนเต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ ตัวละครชาวญี่ปุ่นจึงถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับอุดมการณ์และนิสัยที่ไม่เปลี่ยนแปลง ดีก็แสนดี เลวก็แสนเลว อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ต่างกับตัวละครชาวจีนที่มีบุคลิกซับซ้อน และมีความเป็นปุถุชนสูง โดยเฉพาะตัวละครของ ฮั่วถิงเอิน และ หนงเจี้ยนซุน (พอล ชุน) กับทัศนคติที่มีต่อตัวเฉินเจิน

หนงเจี้ยนซุนเป็นคนเก่าแก่ในสำนัก หลังจากฮั่วหยวนเจี่ยเสียชีวิตเขาก็รับหน้าที่จัดการทุกอย่างในสำนัก แม้จะปากไว พูดไม่เกรงใจไปบ้าง แต่แท้จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปก็เพราะเป็นห่วงลูกหลาน ในตอนที่เฉินเจินกลับมาถึงสำนัก พร้อมกับโชว์ฝีมือกังฟูที่พัฒนาขึ้นนั้นก็ทำให้หนงเจี้ยนซุนไม่พอใจ เพราะเกรงว่าบรรดาศิษย์สำนักจะหันไปเรียนกับเฉินเจินกันหมด โดยไม่ใส่ใจฮั่วถิงเอินที่เป็นเจ้าสำนักรุ่นต่อไปตัวจริง อีกทั้งเฉินเจินยังทำอะไรโดยพลการ ไม่ว่าจะเป็นการออกไปท้าตีกับฟูตากาว่า จนเหล่าลูกศิษย์ต้องมาเอาเรื่องถึงสำนักจิงอู่ ไหนจะผ่าศพอาจารย์เพื่อพิสูจน์หลักฐาน และที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับสำนักจิงอู่คือการรับมิตสึโกะ คนรักซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นมาอยู่ร่วมชายคาด้วย ทำให้เพื่อนๆรับไม่ได้ ท้ายที่สุดเฉินเจินจำต้องพามิตสึโกะไปจากสำนักทั้งสองคน

null

การวางตัวละครให้มีมิติที่ลึกเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้บทหนังที่ค่อนข้างอ่อนค่อยแน่นขึ้นมาในทันตา อีกทั้งเนื้อเรื่องก็ยังมีการดำเนินเรื่องที่น่าติดตาม และ ใส่ฉากบู๊เข้ามาได้อย่างถูกที่ถูกเวลา ทำให้ไม่เกิดความน่าเบื่อในหนังเลย ทั้งการแสดงของนักแสดงแต่ละคน ก็ถือได้ว่าทำได้ดี น่าประทับใจ และคนที่มีบุคลิกเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น บิลลี่ โจว ในบทนายพลฟูจิตะ ตัวร้ายสุดของเรื่อง ที่แสดงสีหน้าและท่าทางที่มีทั้งความน่ากลัวและน่าหมั่นไส้ไปในเวลาเดียวกัน ยิ่งคิวบู๊ก็ยิ่งหายห่วง เพราะดีกรีนักมวยไทยซะอย่าง อีกทั้งยังรับเล่นหนังบู๊มาหลายต่อหลายเรื่อง (ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นตัวร้าย) และอาจพูดได้ว่าบทนายพลฟูิจิตะ อาจเป็นบทที่ดีที่สุดในชีวิตการแสดงของบิลลี่เลยก็ว่าได้

หากถามว่าอะไรคือไฮไลท์ของหนังเรื่องนี้รองจากคิวบู๊ ก็คงตอบไ้ด้อย่างเต็มปากว่า นักแสดงนั่นเอง สำหรับคอกังฟู เพียงแค่ได้ยินชื่อ เจ็ท ลี หรือ หลี่เหลียนเจี๋ย หนึ่งในสี่จตุรเทพตำนานฟัดของฮ่องกง(ร่วมกับอีกสามคนคือแก๊ง Lucky Stars อันได้แก่ หยวนเปียว เฉินหลง และหงจินเป่า)ก็คงจะตัวสั่นกันเป็นแถว ที่สำคัญมันยังเป็นหนังที่รวมเอาดารากังฟูเกรดเอเอาไว้ถึงสี่คน ทั้งหลี่เหลียนเจี๋ย เฉินเสี่ยวหาว บิลลี่ โจว และ ยาสุอากิ คุราตะ เมื่อรวมกับคิวบู๊ระดับปรมาจารย์อย่างหยวนวูปิงแล้ว ฝีมือระดับพวกเขาคงจะถ่ายทอดออกมาได้อย่างน่าติดตาม และที่ดึงดูดที่สุด คงหนีไม่พ้น ชิโนบุ นาคายาม่า สาวน้อย(ในตอนนั้น)ที่ทั้งสวยและน่ารัก ผมเองยังยอมรับเลยครับว่าเธอสวยและน่ารักจริงๆ  อีกทั้งคาแรคเตอร์ที่ทั้งน่ารักและน่าสงสารก็ส่งให้เธอดูมีประกายขึ้นอีกเป็นกอง (ถ้าไม่ติดว่าเกิดก่อนผม 20 ปี ป่านนี้จีบไปนานแล้ว 555)

null

ด้วยชื่อผู้กำกับคิวบู๊อย่าง หยวนหวูปิง คิวบู๊ในเรื่องนี้เมื่อเทียบกับเรื่องอื่นที่แกเคยกำกับมา หรือลองเทียบกับงานที่แกกำกับทั้งคิวบู๊และหนังเลยในปีเดียวกันอย่าง Wing Chun แล้ว คิวบู๊ใน Fist of Legend ดูจะด้อยกว่าเล็กน้อย และค่อนข้างจะต่ำกว่ามาตรฐานของหยวนหวูปิงเอง แต่อย่างน้อยมันก็ยังดูดีกว่าฉากแอ็คชั่นหลายๆเรื่อง จุดเด่นของฉากแอ็คชั่นในเรื่องนี้ แม้ซีนบู๊จะไม่ดุเดือด หรือซับซ้อนเท่าไรนัก แต่หยวนหวูปิงก็ทดแทนด้วยการสร้างซีนบู๊ขนาดยาวเพื่อให้ผู้ชมได้ร่วมลุ้นตลอด ซึ่งก็ทำได้ยาวพอสมควรทีเดียว โดยเฉพาะฉากไคลแมกซ์ที่เฉินเจินต้องยื้อฝีมือกับนายพลฟูจิตะเป็นเวลากว่า 10 นาที ซึ่งเป็นอีกหนึ่งซีนบู๊ที่น่าจดจำในประวัติศาสตร์หนังกังฟูเลยทีเดียว และที่ผมชอบมากๆก็คือ ซีนบู๊ส่วนใหญ่จะใช้ความครีเอทโดยการหยิบฉวยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่รายล้อมอยู่รอบกายมาเป็นอาวุธ ซึ่งก็ทำออกมาได้ยอดเยี่ยมทีเดียว

และเพราะความครีเอทนี่เอง ทำให้ซีนบู๊หลายซีนเป็นที่น่าจดจำ อย่างน้อยก็ซีน “ปิดตาสู้” ระหว่าง เฉินเจิน และ ฟูนาโกชิ ที่สุสานฮั่วหยวนเจี่ย และซีนไคลแมกซ์ที่ลากยาวกว่า 10 นาที พร้อมทั้งคิวบู๊ที่มีเอกลักษณ์ ไม่ลอกเลียนเวอร์ชั่นออริจินอล อีกทั้งการเล่าเรื่องที่เริ่มมีสไตล์ของตนเอง แม้คิวบู๊ในเรื่อง จะไม่โหดหรือสะใจ ระบายควาคลั่งแค้นได้ดีเท่ากับใน Fist of Fury ทว่า Fist of Legend มีดีที่ความครีเอทและความมีเหตุผล แม้ว่าท่วงท่าการต่อสู้อาจไม่สวยงามมากนัก เมื่อเทียบกับผลงานอื่นๆที่หยวนหวูปิงกำกับมา แต่ก็ได้ฉากต่อสู้อันจุใจมาทดแทน รวมทั้งการดำเนินเรื่องก็ทำได้ดีไม่แพ้ต้นฉบับเลย ทำให้มีความสุขและสนุกทุกครั้งที่หยิบมันขึ้นมาดู

null

ในฐานะหนังรีเมค Fist of Legend เป็นงานรีเมคที่ทำออกมาได้เจ๋งพอสมควร มีแนวทางเป็นของตนเอง และมีีจุดดีมากกว่าจุดด้อย ทำให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดในยุคศตวรรษที่ 20 ของหลี่เหลียนเจี๋ย และผู้กำกับ กอร์ดอน ชาน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้คนรุ่นใหม่ได้รับชม สำหรับใครที่เกิดไม่ทันชมเวอร์ชั่นต้นฉบับ เพราะ Fist of Legend ก็มีความสนุกและความน่าติดตามในตัวของมันเองอย่างล้นเหลือไม่แพ้ต้นฉบับเลยทีเดียว แม้ที่สุดแล้ว Fist of Legend อาจไม่ถึงกับเป็นหนังที่ Perfect ทว่าอย่างน้อย หนังเรื่องนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นว่ามันเข้าใกล้กับคำว่า Perfect มากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์หนังกังฟู และในใจคอหนังกังฟูหลายๆคน


คะแนนรวม   1o/10  อย่าได้ลังเลที่จะเลือกมาชม

null

ฉากเด็ด
ฉาก “ปิดตาสู้” ระหว่าง เฉินเจิน(หลี่เหลียนเจี๋ย) และ ฟูนาโกชิ(ยาสุอากิ คุราตะ) ซึ่งฉากนี้เป็นที่พูดถึงกันมาก เพราะมีความแปลกตาไปอีกแบบจาก ปึงซีเง็ก ปิดตาสู้ ที่หลี่เหลียนเจี๋ยเคยแสดงมาก่อน ซึ่งใน Fist of Legend จะมีความสมจริงมากกว่า และที่สำคัญเป็นการแลกเปลี่ยนวิชากับ ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่นอย่างคาราเต้อีกด้วย แม้ความมันส์และความดุเดือดจะสู้ฉากไคลแมกซ์ไม่ได้ แ่ต่ความ “แหวก” และมีเอกลักษณ์ก็สามารถทำให้ซีนนี้เป็นที่น่าจดจำที่สุดในหนัง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเีดีย Wikipedia

Directed by Gordon Chan
Yuen Woo-ping (Martial arts)
Produced by Jet Li
Written by Gordon Chan
Lan Kay-toa
Kwong Kim-yip
Starring Jet Li
Chin Siu-ho
Shinobu Nakayama
Billy Chau
Yasuaki Kurata
Paul Chun
Music by Joseph Koo (Hong Kong version)
Stephen Edwards (Miramax version)
Cinematography Derek Wan
Editing by Chan Ki-hop
Studio Eastern Productions
Distributed by Golden Harvest
Release date(s) Hong Kong:
22 December 1994
Running time 103 minutes (HK)
98 minutes (US)
Country Hong Kong
Language Cantonese
Japanese
English

null

หากมีการจัดอันดับสุดยอดหนังกังฟูคลาสสิค เชื่อว่า The Eight Diagram Pole Fighter หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Invincible Pole Fighter หรือในชื่อภาษาไทยคือ จอมยุทธกระบองกล ต้องปรากฏรายชื่ออยู่ในการจัดอันดับอย่างแน่นอน นี่เป็นหนึ่งในหนังกังฟูดราม่าที่นอกจากจะมีฉากต่อสู้อันดุเดือดเร้าใจแล้ว หนังยังแฝงแง่ิคิดและคติธรรมอีกหลายอย่าง รวมถึงความครีเอทในการดีไซน์ฉากบู๊ให้เป็นไปตรงตามบุคลิกลักษณะของตัวละครอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า ความ “คลาสสิค” หาใช่ความสนุกเร้าใจอย่างเดียว หากแต่ยังหมายถึงคุณค่าและสาระที่ผู้ชมจะได้รับอีกด้วย ทำให้ The Eight Diagram Pole Fighter กลายเป็นหนังที่น่าจดจำที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์หนังกังฟู เป็นหนังที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในยุคสุดท้ายของ ชอว์บราเดอร์ส และกลายเป็นหนังอีกเรื่องที่ได้รับเสียงชื่นชมใกล้เคียงกับ The 36th Chambers of Shaolin (ยอดมนุษย์ยุทธจักร) งานมาสเตอร์พีซของผู้กำกับ หลิวเจียเหลียง

เดิมทีผู้ที่รับบทเป็นตัวเอกใน The Eight Diagram Pole Fighter มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ หลิวเจียฮุย หรือ กอร์ดอน หลิว น้องชายของผู้กำกับหลิวเจียเหลียง ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ฟู่เซิง ซุปตาร์ผู้น่ารักของ ชอว์บราเดอร์ส แต่น่าเสียดายที่ฟู่เซิงเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียก่อนขณะที่หนังถ่ายทำไปได้แค่ครึ่งเรื่อง ทำให้ต้องให้ดาราสาว ฮุ่ยอิงหง มารับบทดำเนินเรื่องต่อไปแทน โชคยังดีที่การถ่ายทำในส่วนของฟู่เซิงก่อนจะเสียชีวิตนั้นมีเหตุผลมากพอที่จะทำให้ไม่ต้องปรากฏตัวในเรื่องต่อไปได้ ทำให้เนื้อเรื่องดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัดใดๆ และไหลลื่นตั้งแต่ต้นจนจบ

null

The Eight Diagram Pole Fighter เป็นหนังที่อ้างอิงจากตัวละครในเรื่อง ขุนศึกตระกูลหยาง มาเป็นแกนหลักของเรื่อง โดยเนื้อเรื่องเริ่มต้นในช่วงที่บรรดาวีรบุรุษทั้งแปดแห่งตระกูลหยาง อันได้แก่ ขุนพลหยางและบุตรชายทั้งเจ็ดออกรบกับข้าศึกที่หาดทรายทอง ซึ่งล้วนแต่เป็นทหารของ เยลู่ฉิน(หวังหลงเหว่ย) อ๋องต้ากิมที่คิดยึดครองจงหยวน แต่เพราะความจงรักภักดีของพวกเขาที่มีต่อราชสำนักมากเกินไป จึงหารู้ไม่ว่า พันเหม่ย ข้าราชการอีกคนได้ร่วมมือกับเยลู่ฉิน สังหารวีรบุรุษตระกูลหยางทั้งหมด เหลือรอดเพียง หยางลิ่วหลาง(ฟู่เซิง) บุตรชายคนที่หกซึ่งเสียใจที่บิดาและพี่น้องทั้งหมดถูกหักหลังจนโดนสังหารหมดสิ้น ทำให้เกิดอาการฟั่นเฟือน และคลุ้มคลั่งทุกครั้งที่ได้ยินชื่อของ พันเหม่ย ส่วนพี่น้องที่เหลือก็ล้วนต้องสังเวยชีวิตไปจนหมดสิ้น มีเพียง หยางอู่หลาง(หลิวเจียฮุย) บุตรชายคนที่ห้าซึ่งหายสาบสูญไปโดยไม่รู้ชะตากรรม

แท้จริงแล้วหยางอู่หลางยังไม่ตาย เขาได้หลบหนีขึ้นไปจนถึง เขาอู่ไถ อันเป็นที่ตั้งของ วัดซินเหลียน เขาตั้งใจที่จะอาศัยร่มเงาแห่งพุทธศาสนาเพื่อชำระล้างจิตใจ และฝึกวิชา “กระบองเขี้ยวหมาป่า” ร่วมกับเหล่าหลวงจีนเพื่อฝึกปรือฝีมือแล้วลงเขาไปแก้แค้นในภายภาคหน้า ทางด้านตระกูลหยางที่เหลืออยู่ก็ทราบข่าวว่า หยางอู่หลางยังไม่ตาย และอยู่ที่วัดซินเหลียน ก็ดีใจเป็นอย่างมาก หยางปาเหม่ย(ฮุ่ยอิงหง) บุตรีคนที่แปด ได้อาสาไปตามหาพี่ชายที่วัดซินเหลียน แต่กลับพลาดท่าโดนพวกต้ากิมจับตัวไปได้ เมื่อเรื่องไปถึงหยางอู่หลาง เขาจึงตัดสินใจลงเขา เพื่อช่วยเหลือน้องสาวและแก้แค้นให้บิดากับพี่น้องทั้งหมดที่สังเวยชีวิตไป ทว่าปัญหาอยู่ที่จิตใจของหยางอู่หลางเอง ที่ยังไม่มีพระสถิตอยู่มากพอ ทำให้หยางอู่หลางต้องเผชิญหน้ากับเหล่าศัตรู และความไม่สงบในใจของเขาเองด้วย

ตัวละครหลัก
null

หยางอู่หลาง(หลิวเจียฮุย) บุตรชายคนที่ห้าของตระกูลหยาง รอดตายจากศึกที่หาดทรายทอง ไปบวชอยู่ที่วัดซินเหลียน เป็นคนมีฝีมือ แต่ใจร้อน วู่วาม และโหดเหี้ยม ทำให้เข้ากับหลวงจีนที่วัดไม่ได้ ต่อมาไ้ด้ฝึกกระบองเขี้ยวหมาป่า ทำให้นิสัยเริ่มสงบขึ้น

หยางลิ่วหลาง(ฟู่เซิง) บุตรชายคนที่หกของตระกูลหยาง มีอาการฟั่นเฟือนและคลุ้มคลั่ง เนื่องจากเสียใจที่พ่อและพี่น้องถูกสังหาร คลั่งแค้นพันเหม่ยเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่ได้ยินชื่อพันเหม่ยต้องออกอาละวาด จนหยางฮูหยินผู้เป็นมารดาต้องคอยเกลี้ยกล่อม

null

หยางปาเหม่ย (ฮุ่ยอิงหง) บุตรสาวคนที่แปดแห่งตระกูลหยาง มีความสุขุม ภายหลังออกตามหาหยางอู่หลางผู้เป็นพี่ชาย

หลังจากที่ทำหนังแนวกังฟูคอเมดี้มาแล้วหลายต่อหลายเรื่อง หลิวเจียเหลียงจึงลองเปลี่ยนทิศทางมาทำหนังกังฟูดราม่าที่สอดแทรกสาระและความเข้มข้นของเนื้อเรื่องดูบ้าง และแนวทางใหม่ที่เขานำเสนอใน The Eight Diagram Pole Fighter ก็ได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันเมื่อลองสังเกตดูก็พบว่างานชิ้นนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับงานของผู้กำกับมือทองของชอว์บราเดอร์สอย่าง จางเชอะ อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอคุณธรรมน้ำมิตรของบุรุษเพศ และความกล้าหาญชาญชัยของเหล่าวีรบุรุษอันเป็นสิ่งที่ชายชาตรีควรกระทำ และแม้กระทั่งคิวบู๊ที่มีความรุนแรงถึงขนาดเลือดสาดเป็นน้ำพุ ทว่าหลิวเจียเหลียงกลับให้รายละเอียดที่ลึกกว่านั้น โดยการนำเอาคำสอนทางพุทธศาสนามาสอดแทรก โดยจะเห็นได้ชัดในตอนที่หลิวเจียฮุย ที่รับบทเป็นหยางอู่หลางมาขอบวช ทว่าเจ้าอาวาสไม่ยอมบวชให้ เนื่องจากเห็นว่าหยางอู่หลางยังมีกิเลสและโทสะหลงเหลืออยู่ ไม่อาจตัดขาดไปได้

อีกจุดหนึ่งคือฉากที่หยางอู่หลางที่บวชแล้วได้ไปฝึกกระบองเขี้ยวหมาป่ากับหลวงจีนรูปอื่น โดยฝึกกับหมาป่ากลที่สร้างจากไม้ โดยหยางอู่หลางได้ทำลายหมาป่าไม้จนพังพินาศ ต่างจากหลวงจีนรูปอื่นที่เพียงฟาดจุดสำคัญของหมาป่าไม้เท่านั้น ทำให้หยางอู่หลางโดนปรามาสในเรื่องของความโหดเหี้ยมในการลงมือ ซึ่งดูไม่เหมาะกับวิชาที่หลวงจีนฝึกเท่าไรนัก เนื่องจากยังไม่มี “เมตตา” เป็นพื้นฐานมากพอ จากที่กล่าวไว้ข้างต้นนั่นแหละครับว่า The Eight Diagram Pole Fighter เป็นหนังของหลิวเจียเหลียงที่เน้นดราม่าและสาระเป็นหลัก ลองไปเทียบกับงานก่อนหน้านี้อย่าง Cat VS Rat (ฤทธิ์คู่แค้น) ดูได้ เรื่องนั้นทั้งบ้องตื้นและไร้สาระสิ้นดีเมื่อเทียบกับเรื่องนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงโลโก้ของหลิวเจียเหลียงนั่นก็คือ คิวบู๊ที่ซับซ้อนและผ่านการดีไซน์มาแล้วอย่างสร้างสรรค์นั่นเอง และเพื่อการันตีว่านี่ยังเป็นหนังของหลิวเีจียเหลียง เจ้าตัวจึงโดดมาร่วมแจมในหนังด้วยฉากหนึ่ง นั่นคือชาวบ้านที่เป็นอดีตทหารของพันเหม่่ย ซึ่งเกษียณตนเองเพราะทนไม่ได้ที่ต้องรับใช้กังฉิน และท้ายที่สุดนายทหารผู้นี้ก็ได้สละชีวิตเพื่อช่วยให้หยางอู่หลางหนีรอดจากเหล่าคนชั่วไปได้

null

นอกจากคิวบู๊แล้ว คาแร็คเตอร์ดีไซน์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังดูมีพลังมากขึ้น การสร้างนิสัยและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปในตัวละครแต่ละตัวก็เป็นเสน่ห์ที่ทำให้ดูหนังได้สนุกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวของฟู่เซิงที่รับบทเป็น หยางลิ่วหลาง บุตรชายคนที่หกที่มีอาการคลุ้มคลั่งเพราะรับไม่ได้ที่พี่ชายและบิดาของตนถูกหักหลัง แม้ฟู่เซิงจะได้บทเป็นคนบ้า ซึ่งดูค่อนข้างตรงกับแนวถนัดของเขา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะได้แต่บทหนุ่มน้อยเฮฮาบ้าบอเสียส่วนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ความบ้าของหยางลิ่วหลางกลับไม่ได้เป็นที่น่าขบขันเลยแม้แต่น้อย หนำซ้ำยังชวนสลดใจ เนื่องจากความบ้าของหยางลิ่วหลางมีต้นกำเนิดมาจาก ความเจ็บปวดอันน่าเศร้าที่ำทำให้ใจของหยางลิ่วหลางทุกข์ทรมานและไม่เป็นสุข ต้องอาละวาดทุกครั้งที่ได้ยินชื่อศัตรูที่ฆ่าพี่น้องและบิดาของตน

ส่วน หลี่ลี่ลี ที่รับบทเป็น หยางฮูหยิน ภรรยาของขุนพลหยาง และมารดาของบุตรตระกูลหยางทั้งหมดนั้นก็เป็นสตรีที่เด็ดเดี่ยว กล้าพูด ความเด็ดขาดของนางไม่ได้เสื่อมลงไปตามวัยเลย และที่ดูชัดเจนที่สุด ก็คือตัวของหยางอู่หลางเอง ที่มีการพัฒนาบทไปอย่างไม่หยุดหย่อน และสามารถหาช่องทางกระตุ้นอารมณ์ของหยางอู่หลางให้แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ได้อย่างชาญฉลาดและเหมาะเจาะ ตั้งแต่เป็นขุนศึก จนสงบจิตใจมาครองสมณเพศ ทว่าก็ต้องมีเหตุให้ต้องกลับมารบราฆ่าฟันอีกครั้ง ซึ่งการพัฒนาของบทของ หยางอู่หลางนี้ ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและลื่นไหล

null

ในเรื่อง หยางอู่หลางคือตัวละครที่โดนสังคมปฏิเสธทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกเขาคือยอดขุนพลผู้ถูกใส่้ร้ายว่าเป็นทหารหนีทัพและกบฏ ต้องถูกตามล่าทั้งจากคนชาติเดียวกันและคนต่างชาติ ส่วนในทางธรรมเขาคือหลวงจีนผู้เต็มไปด้วยโทสะุ ความเกรี้ยวกราดและโหดเหี้ยม จนหลวงจีนรอบข้างไม่อาจทำใจให้เชื่อได้ว่าหยางอู่หลางจะละทิ้งกิเลสมาเป็นหลวงจีนผู้สำรวมอาการและสงบนิ่งได้ ท้ายที่สุดหยางอู่หลางจึงตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตเป็นหลวงจีนในแบบของเขาเอง แม้จะดูแปลกประหลาดกว่าหลวงจีนรูปอื่นๆ แต่เขาก็มีเหตุผลในการใช้ชีวิตของเขา สะท้อนให้เห็นถึงการที่เราไม่ควรยึดติดกับระเบียบแบบแผนมากเกินไป แต่เน้นยึดถือที่อุดมการณ์และความตั้งใจของเราว่า มีประโยชน์กับตัวเราและส่วนรวมมากน้อยเพียงใด

หลิวเจียฮุยถ่ายทอดคาแรคเตอร์ของหยางอู่หลางได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นสีหน้าโกรธ เศร้าโศก และการระเบิดอารมณ์ที่ทำให้เราได้ร่วมลุ้นไปด้วย กับฟู่เซิงยิ่งไม่ต้องพูดถึง ในบทชายหนุ่มผู้คลุ้มคลั่ง ที่ไม่ได้มีกลิ่นอายขบขันแต่ชวนน่าเวทนามากกว่า น่าเสียดายที่ฟู่เซิงต้องเสียชีวิตลงในขณะที่ยังถ่ายทำไม่เสร็จ จึงต้องเปลี่ยนให้ฮุ่ยอิงหง ผู้รับบทเป็นหยางปาเหม่ย บุตรีคนที่แปดมาดำเนินเรื่องในเนื้อเรื่องซับพล็อตแทน ซึ่งในจุดที่ถ่ายทำไว้ก่อนหน้าที่ฟู่เซิงจะเสียชีวิตก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะให้ฮุ่ยอิงหงมาดำเนินเรื่องแทน เนื่องจากบทน้องชายผู้คลุ้มคลั่งคงไม่อาจตามหาพี่ชายภายในเวลาอันรวดเร็วให้เจออย่างแน่นอน อีกทั้ง หยางจิ่วเหม่ย(หยางชิงชิง) ผู้เป็นน้องคนที่เก้า ก็มีนิสัยที่ใจร้อนและวู่วามเกินไป คงทำให้ไม่เป็นผลดีนัก ส่วนหยางฮูหยินผู้เป็นมารดาก็ชรามากแล้ว  หยางปาเหม่ยจึงเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุด ในการออกตามหาหยางอู่หลางกลับมา

null

พูดถึงฮุ่ยอิงหงแล้ว สำหรับคอหนังชอว์บราเดอร์สคงจะไม่ต้องสาธยายอะไรมาก ว่าท่วงท่าบู๊ของเธอนั้นอยู่ในระดับไหน ในช่วงปลายยุค 1960 ชอว์บราเดอรส์ถือกำเนิดนางเอกนักบู๊ขึ้นมาคนหนึ่ง จากหนังเรื่อง Come Drink With Me (หงส์ทองคะนองศึก) ชื่อของเธอคือ เจิ้งเพ่ยเพ่ย ที่ยังกลายมาเป็นดาวค้างฟ้าจนปัจจุบัน แต่เมื่อชอว์บราเดอร์สได้ผู้กำกับมือทองนามว่า จางเชอะ ซึ่งมีวิถีทางการทำหนังที่เน้นแต่ผู้ชายเป็นหลักเข้ามา บรรดานางเอกนักบู๊ก็ค่อยๆหายไปจากจอเงิน กระทั่ง 10 ปีผ่านไป ภายหลังจากการปรากฏตัวของเจิ้งเพ่ยเพ่ย ในปลายยุค 1970 หลิวเจียเหลียงก็ปั้นนางเอกนักบู๊คนใหม่ขึ้นมา ซึ่งลีลาบู๊ของเธอไม่ได้ด้อยไปกว่าเจิ้งเพ่ยเพ่ยเลย ชื่อของเธอก็คือ คาร่า ฮุย หรือฮุ่ยอิงหงนั่นเอง ในเรื่องนี้คุณจะไ้ด้เห็นซีนบู๊ีของเธอในช่วงท้ายๆของเรื่อง ตั้งแต่ตอนที่หยางปาเหม่ยปลอมตัวเป็นชายไปตามหาหยางอู่หลางผู้เป็นพี่ แต่เกิดเข้าใจผิดกับทหารลูกทัพที่มาประกอบอาชีพเป็นเสี่ยวเอ้อ ทำให้เกิดการต่อสู้กันขึ้น อีกช่วงคือตอนไคลแมกซ์ที่เธอต้องร่วมมือกับหยางอู่หลางเพื่อปราบเหล่าคนชั่วให้หมดไป มันเป็นซีนบู๊ที่่สะเทือนใจและสะใจในคราวเดียวกัน

ไม่เพียงแต่คิวบู๊ในเรื่องที่สร้างความเร้าใจและบีบคั้นอารมณ์ได้อย่างถึงพริกถึงขิงเท่านั้น ทว่าการออกแบบอาวุธและยุทโธปกรณ์ต่างๆในเรื่อง ก็ถือได้ว่าครีเอทไม่ใช่ย่อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะหมาป่าไม้ที่ใช้เป็นที่ฝึกยุทธของเหล่าหลวงจีนเพื่อรับมือกับเหล่าหมาป่าที่มาสร้างความเดือดร้อนในบริเวณเขาอู่ไถ ดูเผินๆแล้วมันก็เป็นแค่หุ่นไม้ทื่อๆธรรมดา แต่เมื่ออยู่ในมือของ เจ้าอาวาส(เกาเฟย)แล้ว หมาป่าไม้ก็กลายเป็นอาวุธอันน่าสะพรึงกลัวไปในทันที ทั้งการออกแบบตัวหมาป่าไม้ให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว โดยใส่่ข้อพับและข้อต่อของหมาป่าเข้าไป บวกกับการบังคับตัวหมาป่าด้วยท่วงท่าอันว่องไว ทำให้หมาป่าไม้่ในวัดซินเหลียน มีความน่ากลัวไม่แพ้หมาป่าจริงๆ และกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีเอกลักษณ์และสามารถสร้างความโดดเด่นที่สุดในเรื่องไปโดยปริยาย

null

อีกหนึ่งยุทโธปกรณ์ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมไม่น้อย เห็นจะเป็นอาวุธที่ผมขอตั้งชื่อให้มันว่า “รถถังไม้ไผ่” ของหยางอู่หลางในตอนท้ายเรื่อง ที่ทำง่ายๆโดยการเอากระบองหลายสิบอันมาสุมไว้บนรถเข็น จากนั้นใช้พลังฝ่ามือผลักไม้ไผ่ออกไปพุ่งทะลุร่างศัตรู เชื่อว่าฉากที่หยางอู่หลางผลักไม้ไผ่ให้พุ่งทะลุร่างของสมุนมือขวาของเยลู่ฉินทีเดียวสองคน นับเป็นภาพที่สะใจคอหนังกังฟูโดยแท้ นี่ยังไม่รวมฉากบู๊แบบฮาร์ดคอร์ที่ประเคนเข้ามากันแบบให้ตายกันไปข้าง อันเป็นงานที่หาไม่ได้ง่ายๆนักในหนังของหลิวเจียเหลียง แต่มันได้อารมณ์ไปแบบหนังจางเชอะเลยทีเดียว โดยเฉพาะวิชากระบองเขี้ยวหมาป่าอันลือลั่น ที่มีเจตนาสั่งสอนหมาป่า แต่ไม่เ้น้นเข่นฆ่า โดยการเลาะฟันหมาป่าออก ซึ่งเหล่าหลวงจีนได้นำมาประยุกต์ใช้กับเหล่าสมุนของเยลู่ฉิน ที่การกระทำของพวกมันก็ไม่ต่างอะไรจากหมาป่านัก ฉากที่หลวงจีนวัดซินเหลียนช่วยกันเลาะฟันเหล่าทหารของเยลู่ฉินก็เป็นอีกฉากหนึ่งที่แสดงถึงคิวบู๊อันครีเอทและสะใจในเวลาเดียวกัน

ในฐานะหนังกังฟูแล้ว The Eight Diagram Pole Fighter ทำหน้าที่ของมันได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยคิวบู๊อันดุเดือด เร้าใจ และสะใจคอหนังกังฟู ขณะเดียวกันหนังก็ยังสอดแทรกสาระและคติธรรมในพุทธศาสนาได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงวิถีชีวิตในการครองตน หากต้องเลือกระหว่างกฎเกณฑ์และอุดมการณ์ ทั้งความเป็นดราม่าในหนัง ก็เชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ชมพอสมควร ทำให้ The Eight Diagram Pole Fighter เป็นหนังที่ควรค่าแก่คอหนังกังฟู และคอหนังดราม่าอย่างยิ่งยวด และเหมาะสมกับการขึ้นแท่นเป็นหนังคลาสสิคกังฟูที่ดีที่สุดในโลกเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ยากเย็น

null

คะแนนที่ได้  10/10

null

ฉากเด็ด

ฉากที่ หยางอู่หลาง(หลิวเจียฮุย) ทำการบวชด้วยตนเอง เนื่องจากเจ้าอาวาสไม่ยอมบวชให้ เพราะเห็นว่ายังคงมีกิเลสอยู่ ในฉากนี้หยางอู่หลางได้ทำการโกนผมตนเอง จนเต็มไปด้วยบาดแผลจากการโกนบนศีรษะ อีกทั้งยังนำธูปมาจี้ใส่ศีรษะตนเองเพื่อแสดงการเป็นสัญลักษณ์ของหลวงจีนอีกด้วย ฉากนี้ได้ทั้งอารมณ์สะเืทือนใจ และแสดงถึงตัวตนของหยางอู่หลางอย่างเห็นได้ชัด ที่หลายคนอาจต้องหลั่งน้ำตาให้เลยทีเดียว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย Wikipedia

Directed by Lau Kar-leung
Produced by Mona Fong
Run Me Shaw
Run Run Shaw
Written by Lau Kar-leung
Kuang Ni
Starring Alexander Fu Sheng
Gordon Liu
Lau Kar-leung
Wang Lung Wei
Music by Stephen Shing
Distributed by Shaw Brothers Studio
Release date(s) 1983
Running time 98 minutes
Country Hong Kong
Language Cantonese

null

ย้อนกลับไปในปี 2007 วงการหนังฮ่องกงมีหนังบู๊สุดมันส์ที่มีตัวเอกเป็นตำรวจสองเรื่องออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน หนึ่งนั้นคือ Invisible Target หนังตีแสกหน้าวงการตำรวจที่มีลีลานำเสนออย่างกลมกล่อม (หาอ่านได้ในรายชื่อรีวิวหนังด้านขวา)ส่วนอีกเรื่องเป็นการผงาดจอของราชาหนังบู๊ฮ่องกงในยุคนี้อย่าง ดอนนี่ เยน แท็คทีมกับ กู่เทียนเล่อ เล่าเรื่องราวของหน้าที่อันสำคัญของตำรวจนั่นคือการ “จับโจร” ซึ่งก็คือเรื่อง Flash Point ที่ผมกำลังจะทำการบอกเล่าดังต่อไปนี้ Flash Point เป็นผลงานการกำกับของ วิลสัน ยิป ก่อนที่จะมากำกับหนังระดับตำนานอย่าง Ip man

ในภาพรวมแล้ว Flash Point ยังคงเดินตามสูตรสำเร็จของหนังอาชญากรรมสไตล์ฮ่องกงทั่วไป ตำรวจคนหนึ่งแฝงตัวในแก๊งมาเฟียเพื่อสืบข่าว ส่วนอีกคนเดินหน้าลากตัวคนในแก๊งมาลงโทษตามข้อมูลที่ได้รับจากสปาย แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Flash Point ดูดีมีราคาขึ้นมาก็คือ การให้ความสำคัญกับฉากบู๊แบบ Martial Art อย่างที่ยากจะหาผู้กำกับหนังอาชญากรรมคนอื่นขึ้นมาเทียบได้ และคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่สำคัญและดีที่สุดที่จะหาได้ในหนังของ วิลสัน ยิป ก็คือฉากบู๊นั่นเอง

ไห่เชิง(กู่เทียนเล่อ) ตำรวจหนุ่มต้องแฝงตัวเข้าไปในแก๊งมาเฟียชาวเวียตนาม ซึ่งมีหัวหน้าเป็นหนุ่มใหญ่สามพี่น้อง คือ แซม(เรย์ หลุย) พี่ใหญ่ผู้เฮฮา สำมะเลเทเมา , โทนี่(คอลลิน โชว) น้องรองผู้อำมหิต แต่มีฝีมือในการต่อสู้มากทีุ่สุด และ ไทเกอร์(หยูซิง) น้องสามผู้มีจุดเด่นของพี่ใหญ่และพี่รองผสมกันในตัว แต่ไม่สุดขั้วซักอย่าง เมื่อมีข่าวคราวอะไรคืบหน้า ไห่เชิงก็จะนำข่าวไปบอกกับ หม่าจุน(ดอนนี่ เยน) พาร์ทเนอร์ที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งทั้งคู่เป็นตำรวจที่อยู่ภายใต้สังกัดของ สารวัตรหวง (เคน จาง)

แต่แล้วโทนี่ก็สืบรู้จนได้ว่าไห่เชิงเป็นหนอนบ่อนไส้ ที่จะจับพี่ใหญ่ตัวเองเข้าคุก ไห่เชิงไหวตัวทัน หลบหนีไปได้ ทว่าก็ต้องถูกทำร้ายจนขาซ้ายพิการ ส่วนแซมเองก็ถูกจับกุมในที่สุด ทางด้านหม่าจุนเอง ก็ละอายใจที่ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้ไห่เชิงต้องพิการ จึงทำทุกวิถีทางเพื่อชดใช้ให้ไห่เชิง เรื่องมีทีท่าว่าจะคลี่คลายลง แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อโทนี่ตามจองล้างจองผลาญไห่เชิงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลอบวางระเบิด และการจับตัว จูลี่(ฟ่านปิงปิง) แฟนสาวของไห่เชิงไป เพื่อให้ไห่เชิงยอมกลับคำให้การในศาล ว่าแซมไม่ผิด ทำให้หม่าจุนต้องออกโรงเพื่อช่วยเหลือไห่เชิง และลากตัวคนชั่วมาพิพากษาให้จงได้

ตัวละครหลัก
null

หม่าจุน(ดอนนี่ เยน) ตำรวจเลือดร้อน ทำอะไรไม่ค่อยคิดถึงผลที่ตามมา ขอเพียงงานสำเร็จเท่านั้น เป็นตำรวจที่มียอดจับกุมสูงสุดในแฟ้มประวัติ แต่เมื่อรู้ว่าไห่เชิงต้องพิการเพราะตัวเองเป็นต้นเหตุ เขาก็พร้อมที่จะทำทุกอย่าง เพื่อชดเชยให้ไห่เชิง

null

ไห่เชิง(กู่เทียนเล่อ) พาร์ทเนอร์ของหม่าจุน ซึ่งแฝงตัวเข้าไปในแก๊งมาเฟียเวียตนาม แต่ถูกจับได้ และถูกทำร้ายจนพิการ เป็นตัวแปรสำคัญและควบคุมทิศทางของเรื่อง

null

โทนี่(คอลลิน โชว) พี่รองของแก๊งมาเฟียเวียตนาม เป็นคนที่น่าำกลัวที่สุด เพราะมีบุคลิกเงียบขรึม แต่ฝีมือการต่อสู้เป็นเลิศ แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นคนรักพวกพ้อง ทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือพี่ใหญ่ที่โดนตำรวจจับกุมอยู่

null

จูลี่(ฟ่านปิงปิง) แฟนสาวของไห่เชิง ซึ่งต่อมาถูกแก๊งมาเฟียลอบทำร้ายและหมายเอาชีวิต เพื่อบีบให้ไห่เชิงช่วยเหลือพี่ใหญ่ของพวกมัน

Flash Point เป็นหนังที่ใช้แกนหลักของเรื่องว่าด้วยการ “จับคนร้าย” โดยเปิดเรื่องถึงการให้สัมภาษณ์ของสารวัตรหม่าจุนที่ว่า “ผมไม่รู้หรอกครับว่าผมจับคนผิดหรือไม่ เพราะหน้าที่ของผมก็คือ การจับคนร้ายเท่านั้น” ทว่า เพราะไอ้คำว่า “จับคนร้าย” นี่แหละ ที่ทำให้ชีวิตของตำรวจต้องปั่นป่วนไปมากน้อยขนาดไหน และเผลอๆตำรวจที่จับคนร้าย อาจจะโชคร้ายกว่าเจ้าทุกข์เสียอีกก็เป็นได้ ดังเช่นสิ่งที่ Flash Point ได้นำเสนอออกไป ในแง่มุมของตำรวจล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ หรือความเสี่ยงต่างๆที่ตำรวจล้วนได้รับ ทั้งหมดก็เพื่อรักษาความยุติธรรมในสังคม และทำหน้าที่อย่างเหมาะสม เพื่อที่พวกเขาจะได้ชื่อว่าเป็น “ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์” อย่างแท้จริง ตามที่ชาวบ้านตาดำๆได้พร้อมใจกันมอบสมญานามนี้ให้

พูดถึงวิธีการ”จับคนร้าย”ของตำรวจนั้น มีอยู่มากมายหลายแสน แต่ที่พอจะแบ่งแยกออกเป็นวิธีใหญ่ๆก็พอจะอนุมานได้ 2 วิธี นั่นคือ “ใช้สมอง” และ “ใช้กำลัง” ตัวละครไห่เชิงและหม่าจุนก็เป็นตัวละครที่สะท้อนถึงวิธีการทำงานของตำรวจ ไห่เชิงจับโจรโดยการแฝงตัวและส่งต่อข้อมูลไปยังตำรวจนายอื่นๆ เพื่อนำหลักฐานเหล่านี้ไปเอาผิดกับโจร ในขณะที่หม่าจุนจับโจรโดยการอัดแหลกลาญ โดยไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรตามมา ขอเพียงจับโจรได้ตาม”หน้าที่”ก็เป็นพอ แต่หากจะบอกว่าวิธีจับโจรวิธีไหนดีที่สุด ก็คงจะตอบยาก เพราะตำรวจแต่ละนายล้วนมีแนวทางที่เป็นความถนัดของตนเอง แม้แต่ไห่เชิงและหม่าจุนที่มั่นใจว่าวิธีของตนเองดีหนักหนา ทว่าพวกเขาทั้งสองก็ยังพลาดท่าเสียทีให้กับพวกมันเข้าจนได้

null

ผู้กำกับวิลสัน ยิป มีความถนัดเกี่ยวกับการนำเอาสูตรสำเร็จเก่าๆ มาประยุกต์ใหม่ให้เกิดประโยชน์ในงานของตนเอง จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่าง Flash Point เองที่ดูภายนอกก็เหมือนหนังตำรวจจับโจรทั่วๆไป แต่วิลสันได้สอดแทรกแง่มุมบางอย่างที่ “ลึก” กว่านั้น ถึงความเสี่ยงต่างๆของตำรวจในการจับโจร ไม่ว่าจะเป็นอันตรายที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนรอบข้าง ล้วนแล้วแต่ส่งผลร้ายและความลำบากใจอย่างยิ่ง น่าเห็นใจตำรวจอยู่เหมือนกัน บางคดีพวกเขาไม่สามารถทำอะไรกับคนร้ายมากได้ เนื่องจากความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น ญาติอาจโดนขู่ฆ่า หรือถูกลอบทำร้ายต่างๆนานา ทำให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างล่าช้า ครั้นจะให้มีตำรวจขาลุยแบบผู้กองหม่าจุนขี่ม้าขาวมาช่วย ก็ดูจะเป็นเรื่องที่เกินจินตนาการไปซักหน่อย เพราะการที่จะหาตำรวจที่เพียบพร้อมทั้งฝีมือและความบ้าบิ่นอย่างผู้กองหม่าจุนคงเป็นไปได้อย่างยากเย็น

แต่บางครั้งความลำบากใจเหล่านั้น ก็เป็นความลำบากใจที่เกิดขึ้นจากตัวตำรวจเอง โดยที่ผู้ร้ายแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เช่นในกรณีของหม่าจุน เขาเป็นตำรวจเลือดเดือด ที่เลือกจะจับคนร้ายโดยวิธีซัดตะบันหั่นแหลก เป็นเหตุให้คนร้ายปางตาย หรือถึงตายก็มี เช่นตอนที่ไทเกอร์ น้องเล็กของแก๊งมาเฟียหลบหนีการจับกุมของหม่าจุน และทำร้ายเด็กผู้หญิงคนหนึ่งอาการสาหัส ทำให้หม่าจุนเดือดจัดถึงขนาดต่อยไทเกอร์จนตาย ทว่าสายตาของประชาชนที่มองเขาในขณะนั้น หม่าจุนมีสภาพไม่ต่างอะไรกับเครื่องจักรสังหาร บวกกับเนื้อเรื่องก่อนหน้านี้ที่เขาถูกผู้กำกับหญิงติติงเรื่องซ้อมผู้ต้องหาจนให้การไม่ได้ ทำให้ผมเองเกิดความสงสัยขึ้นในใจว่า “แล้วบรรทัดฐานของการจับคนร้ายมันอยู่ที่ไหนกันแน่?” ไอ้นั่นก็ไม่ดี ไอ้นี่ก็ไม่ได้ เป็นสิ่งที่ทำให้ได้คิดถึงการทำงานของตำรวจ และความลำบากใจ บางครั้งความลำบากใจอาจไม่ได้เกิดจากคนร้ายฝ่ายเดียว ลำบากใจเพราะประชาชน ลำบากใจเพราะตำรวจด้วยกันก็ยังมี บางทีอาจต้องอาศัยความ”พอดี”ในการจับคนร้าย หรือการเลือกที่จะใช้วิธีให้ถูกต้องกับสถานการณ์ ตอนแรกก็ใจเย็น เนิบๆไปก่อน แต่ถ้าจวนตัวหรือฉุดไม่อยู่จริงๆ ก็ค่อยลุยแหลกเอาให้มันตายกันไปข้าง น่าเสียดายที่ไห่เชิงและหม่าจุนมีความถนัดกันคนละด้าน ทำให้พลาดท่าให้กับคนร้าย จนต้องเดือดร้อนไปตามๆกัน null

ทว่าทางด้านฝั่งผู้ร้ายเองก็ใช่ว่าท้าทายอำนาจรัฐแล้วจะใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย แก๊งมาเฟียเวียตนามแม้จะเที่ยวเล่นได้ตามอำเภอใจ แต่ในสายตาของคนจีนแล้วพวกมันก็คือคนต่างด้าว ทำให้มาเฟียฮ่องกงไม่ใคร่จะไว้ใจซักเท่าไหร่นัก ทั้งยังต้องรับภาระคอยดูแลแม่ ที่เป็นโรคหลงๆลืมๆ อยู่บ่อยๆ แต่ด้วยความเป็นมือฉมังของพวกมันก็ทำให้สามารถเล่นแผนดัดหลังต่อกรกับเหล่ามาเฟียใหญ่ๆได้ ถึงขนาดลอบฆ่ากันก็ยังมี โดยเฉพาะพวกที่คิดล้างมือจากวงการ เพราะพวกมันรู้ดีว่า ใครที่ล้างมือจากวงการไปแล้วจะต้องกลายเป็นเป้าพยานปากสำคัญให้เหล่าตำรวจล้วงความลับและสาวมาถึงพวกมันได้อย่างแน่นอน

วิลสัน ยิป เล่าเรื่องความลำบากใจของตำรวจ ตัดสลับไปกับความได้ใจของคนร้ายที่สามารถอยู่เหนือกฏหมายได้ ช่วงต้นเรื่องเปิดตัวได้ค่อนข้างดี พอมีฉากบู๊มาให้หอมปากหอมคอ แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร พ้นช่วง 15 นาทีแรกหนังก็เริ่มเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของฝั่งตำรวจและคนร้ายสลับกัน พอมีฉากให้ตื่นเต้นบ้าง แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร และถ่ายทำไปอย่างเนิบๆ กระทั่งเนื้อเรื่องผ่านพ้นไปหนึ่งชั่วโมง Flash Point ก็พาทุกคนเข้าสู่การไล่ล่าอันลุ้นระทึก และนำไปสู่บทสรุปด้วยการฟัดกันกระหน่ำ และลากยาวไปกว่าเป็นเวลาเกือบยี่สิบนาที ซึ่งทำได้เจ๋งมาก คุ้มค่าแก่การรอคอยมาทั้งเรื่อง
null

ในด้านคิวบู๊นั้น ผู้รับผิดชอบก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เขาก็คือ ดอนนี่ เยน พระเอกของเรื่องนั่นเอง คิวบู๊ในเรื่องค่อนข้างต่างจากเรื่องที่ผ่านๆมาของดอนนี่ คือมีการผสมผสานท่าทางของศิลปะการต่อสู้ต่างๆ นำออกมาใช้ตามสถานการณ์ ซึ่งเรียกรวมกันว่า MMA หรือ Mixed Martial Art ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงศักยภาพทาง Martial Art ของดอนนี่แล้ว ยังเป็นการคืนกำไรให้แก่ผู้ชมที่เป็นคอ Martial Art อีกด้วย ที่จะได้เห็นศิลปะการต่อสู้หลากหลายแขนงที่ขนกันมาใช้มาแลกหมัดกันอย่างเมามันส์ โดยเฉพาะในไคลแมกซ์สุดท้าย คือการปะทะกันระหว่าง ดอนนี่ เยน และ คอลลิน โชว ที่ถือเป็นแมทช์มาสเตอร์พีซอีกแมทช์หนึ่ง ที่วงการหนัง Martial Art ต้องจารึกมันเอาไว้ในประวัติศาสตร์ และถ้าไม่ว่าอะไร ผมขอให้นิยามสำหรับ Flash Point ว่า มันคือ “วิ่งสู้ฟัด ฉบับ ดอนนี่ เยน”

พูดถึงคอลลิน โชว ในเรื่องนี้เล่นได้น่าหมั่นไส้ดีทีเดียว และตีบทแตกกระจุย การแสดงสีหน้าท่าทางในการข่มอารมณ์ หรือทำหน้ากวนอวัยวะเบื้องต่ำ ก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้ดี ขนาดผมดูไปยังหมั่นไส้ไป และในช่วงท้ายๆเืรื่องที่พี่แกต้องระเบิดอารมณ์ก็ทำออกมาได้ถึงพริกถึงขิง นี่ยังไม่นับคิวบู๊ที่มีโอกาสโชว์และแย่งซีนสองพระเอกตลอดเรื่อง นักแสดงคนนี้นับว่าเป็นดาว(ร้าย)ประดับฟ้าของวงการฮ่องกง ที่ยากจะหาผู้ใดมาทัดเทียม โดยเฉพาะความสามารถในด้านคิวบู๊และสตันท์ของเขา นับว่าวิลสันมีความชาญฉลาดในการคัดเลือกนักแสดงมาเป็นอย่างมาก ทำให้ทุกช็อตทุกซีน มีความน่าเชื่อถือและให้อารมณ์ร่วมไปกับเหตุการณ์ที่เหล่าตัวละครพบเจอมาได้อย่างน่าประทับใจ

null

นับว่าวิลสัน ยิป มีความพยายามสูง ที่จะนำเสนอหนังสูตรสำเร็จเดิมๆออกมาในรูปแบบที่แตกต่างออกไป แม้ความสามารถด้านการเล่าเรื่องของเขาจะยังไม่ถึงขั้นก็ตาม แต่คิวบู๊และฉากแอ็คชั่นต่างๆนับว่ายากจะหาใครมาสร้างสรรค์ให้เกิดความมันส์ขนาดนี้ได้ และโชคดีที่ Flash Point ไม่เพียงจะเป็นหนังต่อยตีแบบตำรวจจับโจรทั่วไป ทว่ายังสอดแทรกสาระและความสนุกเอาไว้อย่างครบครัน แม้จะไม่ถึงพร้อมทุกประการเหมือนหนังที่ออกฉายในปีเดียวกันอย่าง Invisible Target ทว่าบางด้านมันก็ถ่ายทอดออกมาได้ดีกว่าเรื่องดังกล่าวเสียอีก หาก Invisible Target เป็นหนังที่สมควรให้ตำรวจได้ดู Flash Point ก็คงเป็นหนังที่สมควรให้ประชาชนอย่างเราได้ดู เพื่อทำความเข้าใจถึงการทำงานของตำรวจที่ต้องพบเจออะไรมาบ้าง และผมก็ภาวนาเป็นอย่างยิ่งว่า อยากให้ตำรวจในบ้านเราเก่งแบบผู้กองหม่าจุนซัก 1000 คน คงจะดีต่อสังคมและประเทศของเราไม่น้อย

คะแนน 8/10  หนังดีทีเดียว

ฉากเด็ด ฉากไคลแมกซ์ที่เป็นการปะทะกันระหว่าง ดอนนี่ เยน และ คอลลิน โชว์ ลากยาวกันกว่า 7 นาที เป็นฉากที่มันส์ทีุ่สุดของเรื่อง และทำได้ดีมาก คุ้มค่ากับการรอคอยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  วิกิพีเีดีย   Wikipedia

Directed by Wilson Yip
Produced by Nansun Shi
Donnie Yen
Written by Szeto Kam-Yuen
Nicholl Tang
Starring Donnie Yen
Louis Koo
Collin Chou
Lui Leung-Wai
Fan Bingbing
Music by Chan Kwong-Wing
Cinematography Cheung Man-Po
Editing by Cheung Ka-Fai
Distributed by Hong Kong:
Mandarin Films Distribution Co. Ltd.
China:
Polybona Films
Singapore:
Golden Village Pictures
United States:
The Weinstein Company
Dragon Dynasty (DVD)
Release date(s) Hong Kong:
9 August 2007
China:
3 August 2007
Taiwan:
18 August 2007
Singapore:
2 August 2007
United States:
14 March 2008 (limited)
Running time 88 min.
Country Hong Kong Hong Kong
Language Cantonese
Budget HK$10,000,000

null

เชื่อว่าหลายท่านที่เป็นคอหนังบู๊ คงเคยรับชมคิวบู๊แบบไล่ล่าผสมผสาน Martial Art ของดารานักบู๊ชื่อก้องนาม Jackie Chan หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า เฉินหลง เป็นแน่แท้ และหลายท่านคงจะทราบว่าดาราันักบู๊คนนี้มีบุตรชายหน้าตาน่ารักน่าชังคนหนึ่งที่โลดแล่นในวงการหนังฮ่องกงเช่นเดียวกัน นาม เจย์ซี ชาน (Jaycee Chan) แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งเจย์ซี โดดมาเล่นหนังไล่ล่า ฟัดสนั่นฮ่องกง พร้อมด้วยฉากบู๊แบบวินาศสันตะโรเช่นเดียวกับที่พ่อของเขาเคยพบเจอมาก่อนหน้านี้แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าจะเป็นอย่างไร แนะนำให้คุณหาคำตอบได้ใน Invisible Target นี่เป็นหนังบู๊ที่ผมพูดได้อย่างเต็มปากว่า ได้ครบทุกอารมณ์ที่สื่อถึงความเป็นหนังบู๊ฮ่องกงอย่างแท้จริง

พูดถึงผู้กำกับหนังบู๊ประเภทอาชญากรรมของฮ่องกง เชื่อเลยว่าชื่ออันดับต้นๆที่ทุกคนคิดถึงอยู่ในหัวย่อมต้องหนีไม่พ้น จอห์น วู อย่างแน่นอน ถัดมาก็ต้องเป็น แอนดรูว์ เลา ที่สร้างชื่อจาก Infernal Affairs คนแรกเป็นผู้กำกับที่เน้นเนื้อหาและโครงเรื่องอันเร้าใจ อีกคนเป็นผู้กำกับที่เน้นลีลาและชั้นเชิงการนำเสนอ ทว่า ในปัจจุบันนี้ที่จอห์น วู เริ่มแก่ตัวลง และแอนดรูว์ เลา ก็เริ่มหมดมุกที่จะนำเสนอหนังในรูปแบบใหม่ ยังคงมีผู้กำกับอีกคนหนึ่งที่ถึงแม้จะไม่เน้นเนื้อหาและชั้นเชิงอันซับซ้อน แต่ลีลาการดำเนินเรื่อง และการปูพื้นฐานตัวละครของเขา เชื่อว่าไม่ได้ด้อยไปกว่าสองคนแรกเลย เขาคือ เบนนี่ ชาน (Benny Chan)

null

เบนนี่สร้างชื่อมาจากหนังคัลต์สุดฮิตระดับตำนานของฮ่องกงอย่าง A Moment of Romance หรือในชื่อไทยว่า ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ ที่ทำให้หนุ่มๆทั่วฮ่องกง แต่งชุดยีนส์ สวมแว่นดำแล้วแว๊นชอปเปอร์กันทั่วประเทศ แต่ตลอดเวลาที่เขาทำหนัง ผลงานของเขายังคงยึดแนวแอ็คชั่นอาชญากรรมเป็นหลัก กระทั่งมาถึง Invisible Target ที่ได้ดาราหน้าหม้อ เอ๊ย ลูกหม้อที่คุ้นหน้าคุ้นตาในวงการหนังฮ่องกงพอสมควรมานำแสดง การดำเนินเรื่องที่เฉียบคม และการไล่ล่าท่ามกลางบทแอ็คชั่นอันสะใจ แบบระเบิดถนนรถชนตึก ลีลาฟัดแบบมือเปล่า และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการวางพื้นฐานของตัวละครอันน่าสนใจ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเบนนี่ที่หาตัวจับได้ยาก Invisible Target จึงกลายเป็นส่วนผสมอันลงตัวของหนังบู๊ฮ่องกง ที่มีให้ชมอย่างครบครัน และถือเป็นผลงานที่กลมกล่อมที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของเบนนี่ ชาน อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นหนังที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของหนังบู๊ฮ่องกงแบบร่วมสมัยเลยก็ว่าได้

หนังได้สองพระเอกจาก Dragon Tiger Gate (ปะ ฉะ ดะ คนเหนือยุทธ) คือ Nicolas Tse(เซียะถิงฟง) และ Shawn Yue(หยูเหวินเล่อ) มาร่วมแสดงนำ แท็กทีมกับอีกหนึ่งพระเอก เจย์ซี ชาน ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของเฉินหลง มาเป็นพระเอกทั้งสามคนของเรื่อง เพื่อผนึกกำลังกันโค่นแก๊งโจรที่มีหัวหน้าเป็นตัวร้ายมาดเท่ซึ่งรับบทโดย อู๋จิง ผลคือหนังทำออกมาได้ดีกว่าที่คิดมาก และสะท้อนด้านมืดของวงการตำรวจได้อย่างเจ็บแสบ สาระทั้งหมดที่สอดแทรกในหนัง ที่มาที่ไปและเหตุผลของการกระทำของตัวละครแต่ละตัว ล้วนเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ Invisible Target เป็นหนังที่ดูสนุกได้อย่างไม่ยากเย็น

null

เรื่องราวการไล่ล่าสุดระทึกเริ่มต้นขึ้นจากเหตุการณ์ปล้นรถขนเงินของโจรกลุ่มหนึ่ง ที่นำโดย เทียนเหยี่ยนเซิน(อู๋จิง) ซึ่งก่อเหตุปล้นอย่างอุกอาจที่ใจกลางเมือง เมื่อได้เงินสมใจแล้ว พวกมันก็จัดการระเบิดรถขนเงินทิ้ง เป็นเหตุให้ ไอวี่(แคนดี้ หลิว) คู่หมั้นของนายตำรวจหนุ่ม เฉินจวิ้น(เซียะถิงฟง) ที่กำลังเลือกแหวนแต่งงานอยู่ในบริเวณใกล้ๆกัน ต้องเสียชีวิตจากแรงระเบิด ทำให้เฉินจวิ้นคิดพยาบาทพวกมันเรื่อยมา หกเดือนหลังจากการตายของไอวี่ แก๊งโจรกลุ่มเดิมก็ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง การปรากฏตัวครั้งนี้ทำให้ตำรวจหนุ่มอีกคน คือ ฟังหยีเหว่ย(หยูเหวินเล่อ) ต้องเสียเพื่อนร่วมงานไป ทั้งยังถูกกลุ่มโจรเหยียดหยามอย่างหนัก มิหนำซ้ำการปฏิบัติการอันล้มเหลว ทำให้เขาถูกย้ายไปอยู่หน่วยเดียวกับเฉินจวิ้นในที่สุด

สองนายตำรวจหนุ่มจำต้องแท็กทีมกันเพื่อสืบหาสาเหตุของการกลับมาอีกครั้งของโจรกลุ่มนี้และตามจับพวกมันไปด้วยในตัว จนได้ล่วงรู้ว่ามีตำรวจสมรู้ร่วมคิดในการปล้นของพวกมันด้วย โดยสืบทราบมาว่าหนึ่งในนั้นคือนายตำรวจชื่อ เว่ยจิงต๊ะ(กั๊วะฟู่เฉิง) แต่ปรากฏว่าเว่ยจิงต๊ะหายสาบสูญไปแล้ว สองหนุ่มจึงต้องขอความร่วมมือจาก เว่ยจิงเหอ(เจย์ซี ชาน) ตำรวจจราจรน้องชายของเว่ยจิงต๊ะ เว่ยจิงเหอเองก็อยากรู้เช่นเดียวกันว่าพี่ชายของตนหายสาบสูญไปอย่างไร จึงร่วมมือกับเฉินจวิ้นและฟังหยีเหว่ย เพื่อหาเบาะแสของพี่ชาย และเพื่อตามจับโจรกลุ่มนี้ พร้อมทั้งกระชากหน้ากากของตำรวจที่สมรู้ร่วมคิดกับพวกมันออกมา สามหนุ่ม สามที่มา สามเหตุผล แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ต้องเผชิญหน้ากับอันตรายที่แก๊งโจรกลุ่มนี้เตรียมต้อนรับให้กับพวกเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตัวละครหลัก


null

เฉินจวิ้น(เซียะถิงฟง) นายตำรวจหนุ่มเลือดร้อน ชอบโซโลเดี่ยว ใจถึง โลกส่วนตัวสูง เคียดแค้นกลุ่มโจรที่ทำให้แฟนสาวของเขาต้องตาย เขาจึงปฏิญาณว่าจะต้องแก้แค้นให้แฟนที่ตายไปให้ได้

null

ฟังหยีเหว่ย(หยูเหวินเล่อ) นายตำรวจปากดี ผู้ยโสโอหัง ทะนงในศักดิ์ศรีเกินกว่าจะขอความช่วยเหลือจากใคร แต่เมื่อถูกลูบคมจากเหล่าแก๊งโจรสุดโหด เขาก็ไม่อาจทนต่อไปได้ จำต้องกู้ศักดิ์ศรีของเขาคืนมา

null

เว่ยจิงเหอ(เจย์ซี ชาน) ตำรวจจราจรท่าทางหน่อมแน้ม แต่จริงๆแล้วเป็นคนสุภาพ ทำให้ผู้ร้ายไม่กลัวเท่าไหร่นัก อาศัยอยู่กับย่าตามลำพัง ต้องการที่จะตามหาพี่ชายของตนเอง ซึ่งหายสาบสูญไปหลังจากที่ทำคดีแก๊งโจรปล้นรถขนเงิน

null

เทียนเหยี่ยนเซิน(อู๋จิง) หัวหน้าแก๊งโจรปล้นรถขนเงิน ต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด เป็นคนนิ่งๆ ขรึมๆ แต่เลือดเย็น มีฝีมือด้านวูซูระดับสูง อะไรคือสาเหตุให้เขาพาแก๊งโจรกลับมาอีกครั้งกันแน่นะ?

Invisible Target มีวิธีการดำเนินเนื้อเรื่องที่น่าสนใจ โดยการเปิดตัวพระเอกทั้งสามคน โดยไล่เรียงเป็นฉากๆไป ซึ่งแต่ละคนนั้นก็ล้วนแต่มีวิธีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไป จากนั้นเบนนี่ผู้กำกับ ค่อยๆใส่ “ปม” ของตัวเอกทั้งสาม ซึ่งล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวพันกับแก๊งโจรปล้นรถขนเงินทั้งสิ้น จากนั้นค่อยๆจัดการลากตัวเอกทั้งสามมาพบกันอย่างแนบเนียน ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือแก๊งโจรนั่นเอง

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งในหนังของเบนนี่ คือการปูพื้นฐานและที่มาของตัวละคร ให้รายละเอียดต่างๆพอสังเขป และวาง”ปม”เอาไว้ให้กับตัวละครแต่ละตัว จากนั้นทำเนื้อเรื่องให้สนุกขึ้นด้วยการหาเรื่องกระตุ้น”ปม”เหล่านั้นให้กลายเป็นส่วนสำคัญของเรื่องขึ้นมา ลองสำรวจในงานเก่าๆของเบนนี่ได้อย่าง New Police Story (วิ่งสู้ฟัดภาค 5) ที่เฉินหลงมีปมว่าตัวเองปฏิบัติภารกิจล้มเหลว ทำให้ลูกน้องต้องตาย หรืออย่างใน Divergence (โคตรคน 3 คม) ที่พระเอกมีความหลังฝังใจกับคู่หมั้นที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เปรียบได้กับพล็อตรองที่ทำให้ Invisible Target ไม่ใช่สักแต่เป็นหนังตำรวจวิ่งไล่จับผู้ร้ายทั่วๆไป เนื่องจากสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือตัวละครทุกตัวต้องวิ่งไล่จับความกลัวในจิตใจของตนเอง และสยบมันให้จงได้

null

บทภาพยนตร์มีการกระจายบทได้ดี โดยเฉพาะตัวละครหลักทั้งสี่่ (พระเอกสาม ผู้ร้ายหนึ่ง) แต่ละคนต่างมีข้อดีเฉพาะตัวที่ทำให้โดดเด่นขึ้นมาและมีเสน่ห์อย่างจับใจ ตัวละครมีพัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นเฉินจวิ้น ตำรวจหนุ่มผู้ฝังรอยแค้นแก๊งโจรเอาไว้ เนื้อเรื่องแสดงให้เห็นถึงบุคลิกที่เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากตำรวจหนุ่มอนาคตไกล กลายเป็นคนจมทุกข์ เงียบขรึม โหดเหี้ยมไปในทันที  หรืออย่างเทียนเหยี่ยนเซิง ที่ดูภายนอกเป็นหัวหน้าโจรผู้อำมหิต แต่แท้จริงแล้วก็เป็นคนรักพวกพ้องคนหนึ่ง และมีบุคลิกที่เหมาะสมแก่การเป็นผู้นำ และกล้าที่จะทำทุกอย่างเพื่อแลกกับสิ่งที่ตนคิดว่ายุติธรรมกับตนและพวกพ้องที่สุด ไม่เพียงเท่านั้น บทยังให้ความสำคัญกับตัวละครที่ไม่ได้ปรากฏตัวในเรื่อง แต่มีการกล่าวถึงอย่าง เว่ยจิงต๊ะ ที่โผล่มาแค่เพียงรูปภาพ (ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นรูปของกั๊วะฟู่เฉิง ดาราหนุ่มซูเปอร์สตาร์ของฮ่องกงในชุดตำรวจ) ซึ่งเป็นเสมือนตัวแปรของเรื่อง ทำให้เว่ยจิงต๊ะกลายเป็น “ตัวละครลับ” ที่มีอิทธิพลต่อเรื่องอย่างมาก

ตลอดเนื้อเรื่องมีการเสียดสีสังคมตำรวจอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เว่ยจิงเหอปรากฏตัวขณะที่กำลังปรับผู้ต้องหาคนหนึ่งข้อหาจอดรถในที่ห้ามจอด แต่กลับโดนผู้ต้องหาด่าเสียๆหายๆ แถมยังอ้างตนว่าเป็นเพื่อนกับสารวัตรอีก หรืออย่างตอนที่ฟังหยีเหว่ยออกโรง เขาก็ถูกหยามโดยอาเสี่ยที่เขามาจับกุม ว่าไม่มีปัญญาดื่มไวน์ขวดละสามหมื่น อีกฉากหนึ่งที่สำคัญก็คือฉากที่พระเอกทั้งสามมีเรื่องกับเหล่าอันธพาล โทษฐานที่พวกมันมาด่าตำรวจ หลังจากทรมานก็ได้ความว่า ที่ด่าตำรวจก็เพราะตัวเองเคยสอบเป็นตำรวจมาก่อน แต่สอบไม่ติด ทำให้ฝังใจ และที่ตีแสกหน้าวงการตำรวจอย่างเจ็บแสบที่สุดคือการส่งให้ตัวต้นเหตุทั้งหมดของเรื่องเป็นตำรวจ ที่สมรู้ร่วมคิดกับแก๊งโจรในการปล้นรถขนเงิน แต่ตำรวจคนนี้ดันอมเงินแก๊งโจรไปเสียก่อน ทำให้พวกมันต้องกลับมาอีกครั้ง เป็นชนวนให้บังเกิดเรื่องราวทั้งหมดขึ้น

null

ฟังดูเนื้อเรื่องก็ค่อนข้างดราม่าทีเดียว ทำให้นักแสดงหลายคนต้องรับบทหนักในการถ่ายทอดอารมณ์ออกมา ไม่เพียงจะเป็นนักแสดงหลัก แต่ตัวประกอบอื่นๆก็พอมีมุมดราม่าให้พอจับต้องได้ และกลายเป็นส่วนสำคัญเล็กๆไปในเรื่องเลยก็มี น่าเสียดายที่ตัวละครหลักยังสื่ออารมณ์ได้ไม่ดีพอ ท่าทางโกรธแค้นยังดูอ่อนแอไปหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับเลวร้ายอะไรมาก ทว่าในส่วนของคิวบู๊ต่างๆก็สามารถทำหน้าที่ได้ดีทีเดียว คิวบู๊ในเรื่องเรียกได้ว่าตอบสนองคอหนังแอ็คชั่นฮ่องกงอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นฉากไล่ล่าแบบฟรีรันนิ่ง ที่ให้นักแสดงในเรื่อง โดดจริง ตกจริง สลิงเล็กน้อย หรือฉากบู๊แบบหมัดแลกหมัดที่ถึงแม้จะไม่สวยงามอะไรมาก แต่ก็ทำได้ตื่นเต้น สะใจ และร่วมลุ้นไปกับทุกซีน ทุกครั้งที่ต่อยกันต้องมีข้าวของพังพินาศ ไล่ตั้งแต่โต๊ะยันประตูกระจกกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีบทบู๊เล็กๆน้อยๆที่กระตุ้นหัวใจให้เข้มข้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฉากขับรถชนกัน หรือการสร้างฉากให้อลังการโดยระเบิดวินาศสันตะโรแสบแก้วหู ที่ทำออกมาได้เจ๋งทีเดียว

นอกจากบทบู๊และบทไล่ล่าอันน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว โปรดักชั่นและฉากต่างๆในเรื่องก็ทำออกมาได้ยิ่งใหญ่และอลังการอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นฉากวางระเบิดในสวนสนุก หรือฉากไคลแมกซ์ที่ตึกธนาคาร ซาวนด์เอฟเฟคท์ต่างๆก็ดูหนักแน่นและน่าเชื่อถือราวกับเข้าไปสัมผัสเหตุการณ์ในเรื่องร่วมกับตัวละครจริงๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่สำคัญที่สุดในหนังของเบนนี่ ชานก็คือเนื้อหาและบทนั่นเอง เมื่อเนื้อหาดี บทดี ที่มาของตัวละครดี สิ่งต่างๆที่เติมเต็มเข้ามาล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องเทศที่ทำให้อาหารหลักอย่างบทและเนื้อเรื่องดูกลมกล่อมขึ้้นและกลายเป็นอาหารอันโอชะของคนที่ชอบเสพภาพยนตร์แนวนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น

null

ตลอดเวลาร่วมสองชั่วโมงที่ได้ชม Invisible Target ตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว ผมรู้สึกสงสารตำรวจขึ้นมาเป็นกอง บางคนทำดีมาทั้งชีวิต กลับได้สิ่งร้ายๆตอบแทน บางคนทำเลว ทรยศต่อหน้าที่ตนเอง แต่กลับดำรงยศอยู่ในระดับสูง แต่เหนือสิ่งอื่นใด หน้าที่คือหน้าที่ ที่ต้องเคร่งครัดและปฏิบัติ หนังสอนให้ทุกคนควรยึดมั่นอยู่กับหน้าที่และอุดมการณ์ของตนเอง อย่าได้หลงใหลได้ปลื้มไปกับอำนาจจอมปลอมที่นับวันก็เริ่มพาชีวิตให้มีแต่หายนะลงไปทุกวัน ทุกอย่างที่กล่าวมาในหนังเรื่องนี้ ทำให้ผมชม Invisible Target ด้วยความสนุกและประทับใจตั้งแต่ต้นจนจบ และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าหลายคนที่ได้ชมคงจะรู้สึกเหมือนผมไม่มากก็น้อย

ใครๆที่มีญาติหรือคนรู้จักเป็นตำรวจล่ะก็ ผมแนะนำให้หาเรื่องนี้มาให้เขาดูซะโดยด่วน นอกจาก Invisible Target จะเป็นหนังแนวอาชญากรรมที่ทำได้สมบูรณ์แบบและน่าประทับใจเรื่องหนึ่งแล้ว มันยังเป็นหนังที่กระตุ้นถึงสามัญสำนึกของตำรวจ ให้แยกแยะระหว่างหน้าที่และสิ่งที่ตนเองปรารถนา อย่าได้ตกไปอยู่ภายใต้ของอำนาจ และความโลภที่เกิดจากปรารถนาที่่ไม่สิ้นสุดเลย นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนมุมมอง ระหว่างตำรวจกับโจร และตำรวจกับตำรวจด้วยกันอีกด้วย ไม่แน่ว่าตำรวจที่ดูหนังเรื่องนี้ อาจจะกลายเป็นยอดมือปราบหรือตำรวจดีเด่นในอนาคตก็เป็นได้ ใครจะไปรู้ หึๆๆ

null


คะแนนรวม 9/10

ฉากเด็ด

ฉากที่ เทียนเหยี่ยนเซิง(อู๋จิง) พาตัวนายตำรวจคนหนึ่งที่แกล้งบ้าเพื่อความปลอดภัยของตน แล้วสามพระเอกต้องไปตามตัวนายตำรวจคนนั้นมา เนื่องจากเป็นพยานปากสำคัญ แม้จะไม่มีซีนบู๊ให้เห็น แต่ก็นับว่าเป็นฉาก Blockbuster อีกฉากที่เป็นตัวแปรสำคัญของหนังครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย  Wikipedia

Directed by Benny Chan
Produced by Benny Chan
Written by Benny Chan
Rams Ling
Melody Lui
Starring Nicholas Tse
Jaycee Chan
Shawn Yue
Wu Jing
Music by Anthony Chue
Cinematography Ko Chiu-Lam
Editing by Yau Chi Wai
Studio Sil-Metropole Organisation
Distributed by Hong Kong:
Universe Films Distribution Co. Ltd.
China
Polybona Films
United States:
The Weinstein Co.
Dragon Dynasty
Release date(s) Hong KongPeople's Republic of ChinaSingaporeMalaysia
19 July 2007
Thailand 11 October 2007
South Korea 28 August 2008
Japan 30 August 2008
Running time 129 min.
Country Hong Kong
Language Cantonese
Mandarin

null

Stephen Chow หรือที่เราๆชาวไทยรู้จักเขากันในนาม “โจวซิงฉือ” ถือเป็นดาราหนุ่มคนหนึ่ง(จริงๆก็เริ่มแก่แล้วแหละ)ที่มีความสามารถหลากหลายด้าน ไม่ว่าการเป็นนักแสดง(พระเอกเสียส่วนใหญ่) เขียนบท และเป็นผู้กำกับ แต่ที่ยิ่งกว่านั้นคือการเป็นดาวตลกที่โด่งดังที่สุดในเอเชีย หลังจากประสบความสำเร็จในบ้านเกิดตัวเองแล้ว เขาจึงลองชิมลางงานในระดับฮอลลีวู้ด กับ Kung Fu Hustle ด้วยทุนสร้างมหาศาล ผลก็คือมันกลายเป็นหนังกังฟูบู๊มันส์ฮา ที่อุดมด้วยลูกบ้าและอารมณ์หนังจีนอินเตอร์ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ส่งผลให้ Kung Fu Hustle กลายเป็นหนังที่นักวิจารณ์หลายท่านการันตีว่าเพอร์เฟคท์ที่สุดของโจวซิงฉือไปอย่างไร้ข้อกังขา

เรื่องนี้โจวซิงฉือควบตำแหน่งทั้งแสดงนำ เขียนบท และกำกับ โปรดักชั่นของเรื่องถือว่าอลังการพอสมควรทีเดียว ทั้งยังมีการใช้ CG อีกหลายต่อหลายฉาก จนดูสูสีกับหนัง 3D ทีเดียว และที่น่าสนใจที่สุดคืองานนี้ได้ใช้บริการของผู้กำกับคิวบู๊ระดับอินเตอร์อย่างหยวนวูปิงมาช่วยออกแบบและกำกับคิวบู๊ให้อีกด้วย อีกทั้งยังแสดงการคารวะต่อหนังกำลังภายในที่เขาชื่นชอบหลายๆเรื่อง โดยการสอดแทรก(พูดง่ายๆก็คือยำนั่นแหละ) ฉากคลาสสิคของหนังเหล่านั้นลงไปแบบไม่เกรงใจต้นฉบับ ทำให้ใครที่เป็นแฟนหนังกำลังภายในและหนังกังฟูอยู่แล้ว คงจะดูสนุกขึ้นไ่ม่น้อย ที่ฉากคลาสสิคหลายๆฉากได้นำมา”รีเมค”ในหนังเรื่องนี้

null

เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อคนเล็กอย่าง อาซิง(โจวซิงฉือ) ดันทะลึ่งอยากใหญ่ให้คับฟ้า แบบไม่เจียมสารรูปตนเองว่าเป็นแค่นักเลงกระจอก เขาหมายมั่นที่จะเข้าเป็นสมาชิก แก๊งขวานซิ่ง ที่มี แซม(แดนนี่ ชาน) เป็นหัวหน้าแก๊ง พร้อมด้วย มือขวา (ถินจุ่ยเหวิน) จอมสาระแนไม่เข้าเรื่อง แต่เพราะวาสนาไม่ถึงที่จะได้เข้าแก๊ง ซิงเลยปลอมตัวเองเป็นคนของแก๊งซะเลย โดยมี เจ้ากระดูก(หลินจื๋อชง) ลูกน้องสุดซื่อบื้อเป็นแนวร่วม สองหนุ่มดันทะเล่อทะล่าเข้าไปยัง ตรอกเล้าหมู ซึ่งที่นี่นั้นแม้แต่ชาวแก๊งขวานซิ่งก็ไม่กล้าจะย่างกราย เพราะตรอกเล้าหมูนั้นอุดมไปด้วยยอดจอมยุทธ์จากทุกสารทิศที่ล้างมือจากยุทธภพมาอาศัย ไม่ว่าจะเป็น เฉียง(หยูซิง) จับกังหนุ่มผู้มี เพลงเตะวายุ เป็นวรยุทธ์ , แนนซี่ – เรียกตามชื่อที่ทีมพันธมิตรพากย์เพราะผมไม่ทราบเหมือนกันว่าในเรื่องชื่ออะไร(จ้าวจื้อหลิง) กะเทยวัยทองเจ้าของวิชา ฝ่ามือทรายเหล็ก , กุย(ตงจื้อหัว) พ่อค้าหมั่นโถวผู้ใช้วรยุทธ์ พลองแปดทิศ แม้แต่สองผัวเมียเจ้าของบ้านเช่าทุกหลังในตรอกเล้าหมูก็ยังเป็นจอมยุทธ์เช่นกัน ทั้ง สามี(หยวนหัว) ยอดฝีมือผู้ใช้วิชา ไท้เก็ก และ ภรรยา(หยวนเฉียว) เจ้าของวิชา ราชสีห์คำราม


แต่ซิงและกระดูกดันมาก่อเรื่องเข้าในตรอกเล้าหมูโดยหารู้ไม่ว่ากำลังเล่นกับไฟ ผลสุดท้ายจึงต้องโดนไล่กระทืบไปตามระเบียบ หนำซ้ำยังโดนแก๊งขวานซิ่งจับตัวไป โทษฐานที่ดันไปอ้างตัวว่าเป็นพวกมัน แต่ด้วยความขี้ประจบของซิงทำให้แซมให้โอกาสเขาและกระดูกได้เข้าแก๊งด้วย ทำให้สองหนุ่มกร่างกว่าเดิมเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะซิงที่โม้หนักว่าตัวเองเคยฝึกวิชา ฝ่ามือเทวดา ในวัยเด็ก โดยซื้อคัมภีร์วิชามาจาก ยาจกผู้หนึ่ง(หยวนจางเหยียน) และหมายมั่นที่จะใช้วิชาฝ่ามือเทวดาผดุงคุณธรรม งานแรกของเขาคือการช่วยเหลือ ฟ่ง เด็กหญิงใบ้ที่กำลังถูกจิ๊กโก๋รังแก ทว่ากลับไม่เป็นผล แถมยังโดนรุมกระทืบอีกต่างหาก ทำให้ซิงตระหนักว่าเป็นคนดีมันไม่คุ้ม เลยหันมาเป็นคนเลวซะเลย ซิงและกระดูกสานต่อความเลวของตนโดยการจี้ปล้นกันหน้าด้านๆ โชคชะตานำพาให้เขาได้พบกับ ฟ่ง(หวงเซิงอี้) สาวใบ้ที่เขาเคยช่วยเหลือในวัยเด็กที่ตอนนี้ยึดอาชีพขายไอติม แต่เพราะงานใหญ่สำคัญกว่า ซิงจึงจำต้องตัดใจ ทางด้านแซมเองก็ไม่อยู่เฉย เพื่อที่จะกำจัดกลุ่มจอมยุทธ์ในตรอกเล้าหมู แซมจึงได้ส่งยอดฝีมือเพื่อมาสังหารพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น คู่พิฆาตพิณเจ็ดสาย(เจี่ยหงไห่ และ ฟางฮักออน) และยอดฝีมืออันดับหนึ่งอย่าง เทพเมฆาอัคคี(บรูซ เหลียง) ผู้มีวิชา ปราณคางคก เป็นวรยุทธ์ แต่ด้วยสำนึกสุดท้าย ทำให้ซิงหันกลับมาขัดขวางพวกแก๊งขวานซิ่งเสียเอง ทำให้โดนเทพเมฆาทำร้ายจนอาการสาหัส แล้วอย่างนี้พ่อซิงของเราจะรับมือยังไงกันล่ะเนี่ย!!!

ตัวละครหลัก

null

ซิง(โจวซิงฉือ) นักเลงกระจอกผู้หมายมั่นจะเป็นสมาชิกแก๊งขวานซิ่ง เคยฝึกฝ่ามือเทวดาในวัยเด็กแต่ไม่ได้ผล กระทั่งโดนเทพเมฆาอัคคีทำร้าย…

null

ฟ่ง(หวงเซิงอี้) สาวใบ้ผู้มีอาชีพเร่ขายไอติม ที่ซิงเคยช่วยเหลือในวัยเด็กจากการถูกรังแก เจอกับซิงอีกครั้งเพราะซิงมาปล้นเธอ ซึ่งเธอก็ยินยอมให้ปล้น ทว่าสิ่งที่เธออยากให้เขาเอาไป หาใช่เงินไม่ แต่เป็นอมยิ้ม?

null

น้าแหลม – เรียกตามทีมพันธมิตร(หยวนหัว) เจ้าของบ้านเช่าในตรอกเล้าหมู ผู้ใช้วิทยายุทธ์ไท้เก๊กแห่งสำนักบู๊ตึ๊ง นิสัยขี้หลีทำให้โดนเมียกระทืบเป็นประจำ ถือคติที่ว่า “เหนือจอมยุทธ์ ยังมีมนุษย์เมีย”

 null

เจ๊ปากหมา – เรียกตามทีมพันธมิตร(หยวนเฉียว) ภรรยาของน้าแหลม ผู้มีอำนาจเหนือกว่าสามีในทุกๆด้าน ขี้บ่น ขี้งก เอาแต่ใจ มีวรยุทธ์คือวิชาราชสีห์คำราม ซึ่งเป็นวิชาของ ราชสีห์ขนทอง “เจี่ยซุ่น” ตัวละครเด่นตัวหนึ่งในนิยายเรื่อง ดาบมังกรหยก ของ กิมย้ง

null

เทพเมฆาอัคคี(บรูซ เหลียง) ยอดฝีมืออันดับหนึ่งที่ดันอยู่ในโรงพยาบาลบ้า แต่พอออกมาได้ก็ซ่าส์ใหญ่ เป็นนักฆ่าที่แซมส่งมากำจัดเหล่าจอมยุทธ์ในตรอกเล้าหมู โดยมีวิชา พลังคางคก เป็นวรยุทธ์

null

แซม(แดนนี่ ชาน) หัวหน้าแก๊งขวานซิ่ง ผู้โหดเหี้ยม (แต่ดันโง่) ส่งนักฆ่ายอดฝีมือทั่วราชอาณาจักรมาเพื่อกำจัดยอดยุทธ์ในตรอกเล้าหมู

null

เจ้ากระดูก(หลินจื๋อชง) ลูกน้องของซิง เป็นคนซื่อบื้อ ไม่เอาไหนซักอย่าง แต่จงรักภักดีกับเจ้านายแบบสุดๆ

โจวซิงฉือยังคงเป็นผู้กำกับหนังแอ็คชั่นคอเมดี้ที่ดีที่สุดอีกคนหนึ่ง น่าเสียดายที่เรื่องต่อๆมาเขาพยายามจะทำหนังในแนวที่ตนเองอยากทำอย่างแนวดราม่าใน CJ7 ทว่าคนทั่วๆไปยังคงติดภาพเขาในบทดาราตลกอยู่ ทำให้เรื่องนั้นไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด แต่ก็ใช่ว่าใน Kung Fu Hustle จะไม่มีสิ่งที่เขาอยากจะทำ สิ่งที่เขาสอดแทรกลงไปในเรื่องนี้คือการที่เขากำลังจะบอกว่า “ผมก็เป็นแฟนหนังกังฟูคนนึงนะ” อย่างที่ผมบอกไว้ข้างต้นแหละครับว่าใน Kung Fu Hustle ได้สอดแทรกฉากคลาสสิคต่างๆของหนังกังฟูและกำลังภายในดังๆหลายเรื่อง เพื่อเป็นการแสดงการคารวะ แต่ถ้าคิดในแง่ตลกมันก็คือการล้อเลียนดีๆนี่เอง ดังนั้นใครก็ตามที่เป็นแฟนหนังกังฟูและนิยายกำลังภายในที่ได้ชมเรื่องนี้แล้ว คงจะสนุกกว่าคนดูทั่วไปก็เป็นได้ เพราะจะได้เป็นการจับผิดไปในตัวว่า เฮ้ย มุกนี้มันอยู่ในหนังเรื่องนั้นนี่หว่า อ้าว ฉากนี้ก็อยู่ในหนังเรื่องโน้น แต่ไม่แน่ว่าอาจจะเครียดกว่าเดิมก็ได้ ก็เล่นเอานิยายอมตะมายำซะขนาดนั้น 555 ไหนจะวรยุทธ์ที่ขุดกันมาทั่วประวัติศาสตร์หนังกำลังภายใน รวมไปถึงวิชาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่อย่าง วิชาเด็กแนว ที่หลายคนคงฮาแตกกันไปหลายตลบ ส่วนฉากที่ล้อเลียน เอ๊ย คารวะมาก็มีอยู่หลายฉากเหมือนกัน

ผมนับถือในความคิดสร้างสรรค์ของโจวซิงฉือนะที่รู้จักเอาอะไรต่อมิอะไรมาผสมผสาน(หรือยำก็ไม่รู้) แต่โชคดีที่มันเป็น Mix & Match คือลงตัวดี น่าเสียดายที่บทภาพยนตร์ค่อนข้างเบาหวิว บางคนอาจจะคิดว่า นี่มันหนังตลกนะ เอาอะไรมาก แต่ผมคิดว่าถ้าหนังตลกสักเรื่องนึงมันมีบทที่แข็งพอที่จะประคองเนื้อเรื่องทั้งเรื่องให้ดูมีลูกเล่นและลีลาได้ มันคงจะเจ๋งมากกว่าใช่มั้ยล่ะครับ แต่ก็โชคดีที่หนังเรื่องนี้อาศัยความเป็นหนังตลก ทำให้เราไม่ต้องอาศัยเหตุผลอะไรในการชมมากนัก ซึ่งหนังสไตล์โจวซิงฉือก็เป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร ดำเนินเรื่องง่ายๆ ไม่ซับซ้อน นึกอะไรได้ก็เอามาใส่ๆไป เน้นปล่อยมุกฮาเอาซะมากกว่า

null

และเพราะความเบาหวิวของบทนี่เองที่ทำให้ตัวละครที่น่าจะมีความสำคัญอย่าง ฟ่ง ที่เป็นนางเอกของเรื่อง กลายเป็นตัวละครที่ไม่ค่อยจะมีความสำคัญเท่าไหร่ ทั้งๆที่ปูมหลังของตัวละครตัวนี้นับว่าปูมาได้ดีเลยทีเดียว แต่กลับไม่ส่งผลต่อเนื้อเรื่องเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่บทก็น้อยอยู่แล้ว เพราะทั้งเรื่องปรากฏตัวออกมาแค่ 3 ซีน แถมยังรับบทเป็นคนใบ้ ทำให้ต้องแสดงออกทางสีหน้า ซึ่งหวงเซิงอี้(ของผม)ก็ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ตรงนี้ได้ดีเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะในตอนนั้นเธอยังคงเป็นมือใหม่สำหรับการแสดง ไหนจะโดนดาราดังๆกลบรัศมีอีก ทำให้บทของฟ่งที่เป็นนางเอกแทบไม่มีผลอะไรต่อเนื้อเรื่องเลย เหมือนกับว่าเรื่องนี้มีนางเอกไว้เพียงเพราะตามธรรมเนียมว่ามีพระเอกก็ต้องมีนางเอกไว้เท่านั้น ทำให้นางเอกในเรื่องนี้กลายเป็นเพียงไม้ประดับไปอย่างน่าเสียดาย

จึงไม่ต้องแปลกใจหากบทบาทที่เด่นกว่าจะไปตกอยู่ในมือของพวกพ้องพลพรรคขาประจำของโจวซิงฉือที่มาร่วมแจมให้หนังของเขาหลายต่อหลายเรื่อง โดยเฉพาะจากเรื่อง Shaolin Soccer (นักเตะเสี้ยวลิ้มยี่) ที่มากันหลายคนทีเดียว ทั้งแดนนี่ ชาน ดาราหนุ่มที่หน้าคล้ายบรู๊ซ ลียังกับแกะ ที่รับบทเป็น พี่สี่ ของโจวซิงฉือ หรือฉายา “ฝ่าืมือยมฑูต” ในนักเตะเสี้ยวลิ้มยี่ก็มารับบทเป็น แซม หัวหน้าแก๊งขวานซิ่งในเรื่องนี้ รวมทั้งมือขวาของเขาที่รับบทโดย ถินจุ่ยเหวิน ก็เคยรับบทเป็น พี่สาม หรือ “ดิจิตอล” ในนักเตะฯมาก่อน และที่คนจำกันได้มากที่สุดเห็นจะไม่พ้น หลินจื๋อชง ที่รับบทเป็นเจ้ากระดูก ลูกน้องสุดบื้อของอาซิง ซึ่งคงจำกันได้กับบท น้องหก เจ้าของฉายา “พริ้วไหวเหนือสายน้ำ” ในนักเตะฯนั่นเอง ทำให้เมื่อทั้งสามคนเวลาต้องมาเข้าฉากกับโจวซิงฉือแล้ว สามารถเล่นรับส่งอารมณ์กันได้อย่างดี น่าเสียดายที่อดีตดาราเจ้าประจำอย่าง อู๋ม่งต๊ะ ไม่ได้มาร่วมงานด้วย เนื่องจากไม่ต้องการเป็นเพียง “ลูกไล่” ของโจวซิงฉือ และโอกาสที่เราจะได้เห็น อู๋ม่งต๊ะ กับโจวซิงฉือร่วมงานกัน คงจะเป็นไปได้ยากถึงยากมากเสียแล้ว

null

โจวซิงฉือไม่ลืมที่จะทิ้งลายตลกร้ายของตนด้วยการสอดแทรกแนวคิดเสียดสีสังคมเอาไว้ นอกเหนือจากการห้ำหั่นกันของแก๊งมาเฟีย ตัวละครซิงก็เหมือนกับบุคคลทั่วไปที่อยากจะเป็นคนดีกับเขาบ้าง แต่ทำดีแล้วไม่ได้ีดี ทำให้ถอดใจและประชดด้วยการไปทำชั่วเอาซะเลย แต่สุดท้ายเขาก็ได้รู้ว่า การทำชั่วไม่จำเป็นว่าต้องได้ดีเสมอไป ซ้ำ้ร้ายมันยังก่อให้เกิดผลร้ายต่อตัวเขาเองและผู้อื่นด้วย นับว่าคงจะพอเป็นสาระได้บ้างในเรื่อง ซึ่งก็ขอเตือนว่าอย่าดูเอาฮาอย่างเดียว ลองค่อยๆคิดตามเหตุผลของตัวละครไปเรื่อยๆ แล้วคุณอาจจะพบนัยยะที่ซ่อนอยู่ภายใต้การกระทำของตัวละครแต่ละตัวก็เป็นได้

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรื่องนี้ดูสนุกก็เห็นจะไม่พ้นซีนบู๊ต่างๆ ที่ทำออกมาได้มันส์ หลุดโลก และแฝงวัฒนธรรมจีนได้อย่างดี ส่วนตัวแล้วผมชอบซีนบู๊ของอากุย พ่อค้าหมั่นโถวที่เปลี่ยนจากใช้พลองมาเป็นทวนเพื่อต่อสู้กับ คู่พิฆาตพิณเจ็ดสาย ซึ่งตงจื้อหัว ผู้รับบทเป็นอากุยได้แสดงฉากนี้ด้วยตนเอง และร่ายรำทวนได้สวยงามมาก ซึ่งคิวบู๊ในแต่ละซีนก็จะมีการใช้ CG หรือ Computer Graphic ช่วยเพิ่มความเว่อร์ให้ดูสนุกขึ้น และซีนบู๊ทุกซีนก็ดูดีพอที่จะให้เป็นที่จดจำแก่ผู้ชมได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งก็แน่นอน เพราะผู้ออกแบบและกำกับคิวบู๊ก็คือ หยวนวูปิง ปรมาจารย์ในด้านนี้นั่นเอง

null

แม้ Kung Fu Hustle จะได้ชื่อว่าเป็นหนังที่เพอร์เฟคท์ที่สุดของโจวซิงฉือ แต่นั่นก็เป็นแค่การมองทางภาพรวม ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ปะปนกันไป และมันก็เป็นหนังที่ดูสนุกมากอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องนี้ถ้าพูดในแง่ของความเป็นศิลปะแบบ “จีนแท้ๆ” แล้วส่วนตัวผมให้คะแนนมากกว่า Crouching Tiger , Hidden Dragon และ Hero ด้วยซ้ำ เพราะสองเรื่องนั้นเล่่นกับความเป็น “อินเตอร์” มากเกินไป แม้จะอาศัยงานด้านภาพที่สวยงาม สมูธ และดูปราณีต แต่มันก็ดูเป็นแฟนตาซีมากกว่ากำลังภายในเสียมากกว่า สำหรับ Kung Fu Hustle ก็เป็นหนังที่สามารถขายได้ทั้งในจีนเอง ในด้านของการแสดงถึงความเป็นแฟนหนังกังฟูของโจวซิงฉือ และตีตลาดอินเตอร์ได้ ในเรื่องของลูกบ้าและมุกฮาต่างๆที่ขนกันมาประเคนอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม Kung Fu Hustle ก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงตัวของโจวซิงฉือเอง ในฐานะที่ขึ้นแท่นมากำกับหนังกำลังภายในแบบเต็มตัวจริงๆ และที่น่าภูมิใจก็คือ มันเป็นหนังกำลังภายในที่ดาราตลกอย่างโจวซิงฉือ ทำได้ดีกว่าผู้กำกับหนังบู๊อีกหลายๆคนมากนัก

null


คะแนน 8/10

ฉากเด็ด

ฉากที่อาซิงท้าทายคนในตรอกเล้าหมูมาสู้ โดยหารู้ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นยอดฝีมือ งานนี้ทำเอาหนุ่มซิงถึงกับ “เลือดไหลเป็นโลหิต” ทีเดียว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย  Wikipedia

Kung Fu HustleDirected byProduced byWritten byStarringMusic byCinematographyEditing byStudioDistributed byRelease date(s)Running timeCountryLanguageBudgetGross revenue

Stephen Chow
  • Stephen Chow
    Chui Po-chu
    Jeffrey Lau
    Executive and associates:
    Bill Borden
    Wellson Chin
    Rita Fung
    David Hung
    Wang Zhonglei
    Zhao Haicheng
Stephen Chow
Huo Xin
Chan Man-keung
Tsang Kan-cheung
Stephen Chow
Yuen Wah
Yuen Qiu
Danny Chan Kwok Kwan
Bruce Leung
Stephen Chow
Raymond Wong
Hang Yi
Xian Luo Zong
Poon Hang-sang
Angie Lam
Columbia Pictures Film Production Asia Limited
Star Overseas
Beijing Film Studio
China Film Group
Huayi Brothers
Columbia Pictures
USA:
Sony Pictures Classics
September 14, 2004(TIFF)
December 23, 2004
95 minutes
China
Hong Kong
Cantonese
Mandarin
$20 million[1]
$100,914,445[1

null

หลังจากเอร็ดอร่อยกับรสชาติของปลาหลีฮื้อแห่งแดนมังกรมานาน  คราวนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศมาชิมรสชาิติปลาซาบะของแดนอาทิตย์อุทัยแห่งนี้หน่อยแล้วกันนะครับ และหนัง Martial Art ญี่ปุ่นเรื่องปฐมฤกษ์ที่ผมภูมิใจนำเสนอ ก็ขอยกเอาหนัง Cult-Action สุดฮิตของญี่ปุ่นที่สร้างมาจากการ์ตูนชื่อเดียวกันอย่าง Azumi มานำเสนอ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีหากินของคนทำหนังชาวญี่ปุ่น ที่พอเห็นการ์ตูนเรื่องไหนดังๆ พี่แกก็จับมาทำเป็นหนังเวอร์ชั่นคนแสดงโลด 555 โดยส่วนตัวแล้วผมเองไม่ค่อยชอบในหลายๆจุดของหนังเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าหนังเรื่องนี้จะมีส่วนที่ผมไม่ชอบไปซะหมด แม้กระนั้นหลังจากที่ได้ชมตั้งแต่ต้นจนจบก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันเป็นหนังที่ดีอีกเรื่องหนึ่งจริงๆ เพียงแต่มันเป็นหนังดีที่ไม่ใช่แนวทางของผมเท่านั้น แต่ไม่ว่ายังไงก็จะขอรีวิวเรื่องนี้อย่างเป็นกลางแล้วกัน เพราะลึกๆในใจแล้วยังชอบหนังเรื่องนี้มากกว่าไม่ชอบ

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Azumi เป็นหนังที่สร้างมาจากการ์ตูนชื่อเดียวกันของนักเขียนการ์ตูนนาม ยู โคยามะ ซึ่งทำยอดขายถล่มทลายในญี่ปุ่นถึงแปดล้านเล่ม! (เยอะจัง…O_O)โดยในเวอร์ชั่นภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงนี้เป็นผลงานการกำกับโดย ริวเฮ คิตามูระ และผู้ที่มาสวย เอ๊ย สวมบทบาทเป็น อาซูมิ นางเอกของเรื่องก็คือดาราสาวหน้าหวาน อายะ อูเอโตะ ซึ่งผมเองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าดูหนังเรื่องนี้เพราะเธอจริงๆ และผมก็เชื่อว่าหนุ่มๆอีกหลายๆคนที่ได้ดูก็คงคิดเหมือนผม เหอๆๆ แต่มันก็คงต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะหนังเรื่องนี้เปิดตัวว่าต้องใช้นางเอกเป็นจุดขาย เพียงแต่ว่าจะเป็นการพลิกคาแรคเตอร์จากสาวหน้าหวาน มาเป็นซามูไรสาว เยือกเย็น แข็งแกร่ง พูดน้อย แถมยังบู๊กระจายเลือดสาดอีกต่างหาก จึงอาจกล่าวได้ว่า นอกจากตัวของอายะจังแล้ว บทบาทที่เธอได้รับซึ่งเป็นการพลิกคาแรคเตอร์ของเธอก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ดึงดูดให้ผู้ชมได้ชมเรื่องนี้
null

ส่วนตัวแล้วผมไม่เคยอ่านเวอร์ชั่นการ์ตูนมาก่อนนะครับ เลยไม่สามารถบอกได้ว่าเนื้อเรื่องระหว่างการ์ตูนกับหนังนั้นต่างกันอย่างไร แต่สำหรับเวอร์ชั่นหนังนั้นเรื่องราวเริ่มต้นขึ้น เมื่อ เกสไซ(โยชิโอะ ฮาราดะ) ได้เก็บเด็กน้อยที่รอดตายจากสงครามจำนวน 10 คน เป็นชาย 9 คน และะหญิงเพียงคนเดียวนั่นคือ อาซูมิ(อายะ อูเอโตะ) เพื่อฝึกฝนให้พวกเขาเป็นมือสังหารที่พร้อมจะกระทำหน้าที่เพื่อหยุดยั้งสงครามที่จะเกิดขึ้น โดยต้องสังหารขุนพลทั้งสามของ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ(ปรากฏเพียงการกล่าวถึงในเรื่อง แต่ไม่มีตัวละคร) ซึ่งขุนพลทั้งสามนั้นก็ได้แก่ นากามาสะ อาซาโนะ(มาซาโตะ อิบุ) , คิโยมาสะ คาโตะ(นาโอโตะ ทาเคนากะ) และ มาซายูกิ ซานาดะ(มิกิจิโร่ ฮิระ) อาซูมิต้องผ่านการทดสอบต่างๆ ทั้งจากผู้เป็นอาจารย์และจากฝ่ายศัตรู โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญหน้ากับ บิโจมารุ โมงามิ(โจ โอดาจิริ) มือสังหารแอบจิตที่มีีฝีมืออันโหดเหี้ยมและร้ายกาจที่สุดซึ่ง คิโยมาสะ คาโตะ ได้ส่งมาเพื่อจัดการอาซูมิและเหล่าสหายโดยเฉพาะ

ตัวละครหลัก

null

อาซูมิ(อายะ อูเอโตะ) หญิงสาวผู้ถูกฝึกให้เป็นซามูไร และเป็นคนที่มีฝีมือเก่งกาจที่สุดในบรรดาซามูไรทั้งหมดของเกสไซ เป็นคนเยือกเย็น พูดน้อย แต่ลงมือเฉียบขาด แม้ยามต่อสู้จะไร้ปราณีเพียงใด แต่ในอีกมุมหนึ่ง เธอก็ต้องการใช้ชีวิตแบบผู้หญิงทั่วไป

null

บิโจมารุ โมงามิ(โจ โอดาจิริ) กะเทยหนุ่มมือสังหารนิสัยโรคจิตที่คิโยมาสะ คาโตะส่งมาตามล่าอาซูมิและสหาย ลงมือโหดเหี้ยม และชอบทำอะไรตามใจตัวเอง เอกลักษณ์คือมักพกดอกกุหลาบติดตัวอยู่เสมอ
null

คันเบ้ อิโนะอุเอะ(คาซูกิ คิตามูระ) มือขวาคนสนิทผู้จงรักภักดีของคิโยมาสะ คาโตะ ทั้งยังคอยประสานงานระหว่าง คิโยมาสะ และ บิโจมารุ ด้วย
null

นาชิ(ชุน โอกุริ) หนึ่งในเด็กที่ถูกเก็บมาเลี้ยงเป็นมือสังหารโดยเกสไซ และเป็นคนรักของอาซูมิ แต่ต้องจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของอาซูมิตั้งแต่ต้นเรื่อง  ด้วยคำสั่งให้ “ฆ่ากันเอง” ของเกสไซ แม้จะมีบทบาทไม่มาก แต่ตัวละครนาชิ ก็มีผลกระทบทางด้านจิตใจของอาซูมิมากทีเดียว

เชื่อเถอะครับว่าหลายคนที่อยากดูหนังเรื่องนี้ หากไม่ใช่เพราะตัวอายะ(หรืออาซูมิ) ก็คงต้องเข้าไปดูบทบู๊ เพราะหนังแนวซามูไรแบบนี้ ก็มีแต่ญี่ปุ่นที่เป็นออริจินอลเท่านั้นที่จะทำออกมาได้ดีที่สุด (เช่นเดียวกับหนังกังฟูที่ต้องทำโดยฮ่องกงถึงจะมันส์  ไม่เชื่อคุณลองดูบทบู๊ระหว่างไอ้หนุ่มหมัดเมา กับ The Matrix สิ จะเห็นว่าผู้กำกับคิวบู๊คนเดียวกัน แต่อารมณ์กังฟูแท้ๆนั้นต่างกันมาก) เอาเข้าจริงๆแล้ว อาซูมิไม่ใช่หนังบู๊ที่ขายเพียงฉากบู๊และตัวนางเอกเองที่เป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่ต้องต่อสู้กับผู้ชาย(และกะเทย)ทั้งเรื่อง เพราะบทบู๊ในเรื่อง สำหรับตัวผมเองแล้วอยู่ในขั้น “งั้นๆ” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีความดุเดือดอะไร แต่ิสิ่งที่อาซูมิจะำนำเสนอจริงๆก็คือ “การประยุกต์” ทำให้อาซูมิกลายเป็นหนังแอ็คชั่นแนวพีเรียดที่ดูแหวกแนวและ “โมเดิร์น” กว่าหนังแอ็คชั่นซามูไรเรื่องอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็ไม่หลุดออกจาก “กรอบความคิด” ของหนังประเภทนี้ทั่วๆไปเลย อาจกล่าวได้ว่าเป็นหนังที่มีความคลาสสิคและโมเดิร์นในตัวเดียวกัน ซึ่งหาได้ยากยิ่งในปัจจุบันนี้

ดังนั้นอาซูมิจึงกลายเป็นหนังแอ็คชั่น ที่ไม่ได้ขายแอ็คชั่น (เช่นเดียวกับหนังไทยเรื่อง “บ้านฉัน…ตลกไว้ก่อนพ่อสอนไว้” ที่เป็นหนังตลกซึ่งไม่ได้ขายความตลก) นอกจากการประยุกต์ใช้ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การจำกัดแนวทางของหนังให้อยู่ใน “กรอบความคิด” ก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้หนังแอ็คชั่นเรื่องนี้ดูดีขึ้นมา “กรอบความคิด” ที่ว่านี้ก็คือ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นในเรื่องนั่นเอง  ที่ไม่เพียงจะมีประเพณีของชาวญี่ปุ่น  ทว่าสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ การสอดแทรกปรัชญาและคติการดำเนินชีวิตไว้ได้อย่างกลมกลืน ตามรอยหนังแนวซามูไรที่ประสบความสำเร็จ และก็ด้วย “การประยุกต์” และ “กรอบความคิด” นี่เองที่ทำให้ Azumi ประสบความสำเร็จตามรอยหนังซามูไรในยุคก่อนๆได้

null

วิถีชีวิตทั้งหมดที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ทำให้ผมบรรลุได้อย่างหนึ่งว่า ทำไมปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่เจริญที่สุดในเอเชีย นั่นเพราะคนญีุ่ปุ่นมีจิตสำนึกที่ทำให้ประเทศพัฒนาได้ คนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีความยึดมั่นในอุดมการณ์ และชัดเจนในความรู้สึก ตัวละครทุกตัวในเรื่องล้วนยึดมั่นในอุดมการณ์และชัดเจนในความรู้สึกกันทั้งนั้น เช่น อาจารย์เกสไซ และ คันเบ้ ยกเว้นแต่อาซูมิเพียงคนเดียวที่ยังไม่ชัดเจนในความรู้สึก นั่นเพราะเนื้อเรื่องและบทได้ส่งให้เธอกำลังสับสนกับสิ่งที่เธอทำว่าถูกต้องหรือไม่ เช่นในตอนต้นเรื่อง ที่ต้องคัดจากเด็กสิบคน ให้เหลือเพียงห้าคน โดยการจับคู่แล้วฆ่าคู่ของตนให้ได้ โดยอ้างว่า “การจะเป็นนักฆ่านั้น ต้องฆ่าคนตามคำสั่ง อาจเป็นคนที่เรารู้จักหรือไม่รู้จักก็ได้ ดังนั้น หากหักใจฆ่าคนที่รู้จักไม่ได้ ก็มิอาจเป็นนักฆ่าได้” ในตอนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งของอาซูมิที่ชิงฆ่าคู่ของตนโดยไม่ทันตั้งตัว โดยให้เหตุผลว่า “นี่เป็นคำสั่งของอาจารย์” หากคิดในแง่ของศิษย์แล้ว การเชื่อฟังอาจารย์ถือเป็นเรื่องดี แต่กับคนที่โตมาด้วยกัน เล่นมาด้วยกันตั้งแต่เยาว์วัย แต่ไม่มีความผิดใดๆให้สมควรฆ่า กลับต้องมาถูกฆ่าเช่นนี้ มันสมควรดีแล้วหรือ? และที่ร้ายที่สุด คือคนที่อาซูมิต้องฆ่า กลับกลายเป็นนาชิ คนรักของเธอ ที่จับคู่กับเธอเพราะความเข้าใจผิดว่าอาจารย์จะให้ซ้อมดาบ และนาชิก็จบชีวิตลงจากการดวลดาบระหว่างเขากับอาซูมิในทีุ่สุด เรื่องนี้เป็นเสมือนแผลเป็นในใจของอาซูมิตราบชั่วชีวิตของเธอ และทำให้เธอตระหนักว่า “คนที่เธอต้องฆ่านั้น เป็นคนเลวจริงหรือ?”

ในอีกแง่หนึ่งอาซูมิเองก็ต้องการที่จะใช้ชีวิตแบบหญิงสาวปกติทั่วไป ที่อยากแต่งตัวสวยๆ อยากไปเที่ยวจับจ่ายซื้อของ เช่นตอนที่เธอพบกับ ยาเอะ(อายะ โอคาโมโต้ – อายะเหมือนกันซะงั้น) นางเอกคณะละครเร่ ที่ดำรงชีวิตแบบผู้หญิงทั่วไป รักสวยรักงาม อบอุ่นและอ่อนโยน และพยายามโน้มน้าวจิตใจของอาซูมิให้วางดาบลงเสีย เพราะนอกจากมันจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้หญิงพึงกระทำแล้ว แต่การเป็นนักฆ่าของอาซูมิก็อาจนำเภทภัยมาสู่ตัวเธอเองได้ แต่เมื่อศัตรูมาตามล่าอาซูมิอีกครั้ง ทำให้เธอค้นพบว่า ต่อให้เธออยากใช้ชีวิตที่ต้องการอย่างไร แต่เธอก็มิอาจฝืนสิ่งที่ฟ้าลิขิตเอาไว้ได้ อายะ อูเอโตะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้อย่างดี โดยเฉพาะในบทดราม่า ที่เธอต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆประการ ส่วนคิวบู๊อาจจะมีติดขัดไปบ้าง แต่ก็ไม่หนักหนาอะไร

null

อีกตัวละครหนึ่งที่มีความสำคัญสูสีกับอาซูมิ และสร้างสีสันให้กับเนื้อเรื่องเป็นอย่่างมากก็เห็นจะไม่พ้น กะเทยหนุ่มมือสังหาร บิโจมารุ โมงามิ ที่รับบทโดย โจ โอดาจิริ เขาผู้นี้พูดชื่อไปอาจไม่มีใครรู้จักมากนัก แต่หากเป็นคุณหนูๆ น้องๆ ที่เป็นสาวกมาสค์ไรเดอร์คงจะคุ้นหน้าเขาเป็นอย่างดีไม่มากก็น้อย เพราะ โจ โอดาจิริ ผู้นี้ก็คือคนที่รับบทเป็น Masked Rider Kuuga (มาสค์ไรเดอร์คูกะ) ไรเดอร์ปฐมฤกษ์แห่งยุคเฮย์เซย์นั่นเอง จนมาถึงอาซูมิ โจได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่านอกจากบทบาทที่เขาได้รับซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมากแล้ว ฝีมือทางการแสดงของเขาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลให้โจได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมาจนทุกวันนี้ ที่ญี่ปุ่นนั้นเรียกได้ว่าโจเป็นหนุ่มฮอตไม่แพ้ พี่เคน ธีรเดช ของไทยเลยทีเดียว

บิโจมารุเป็นมือสังหารกะเทยโรคจิต ที่ไม่มีที่มา มีแต่ที่ไปคือต้องสังหารอาซูมิและพรรคพวกให้ได้เท่านั้น เขาเห็นทุกสิ่งในโลกเป็นสิ่งสวยงาม โดยเฉพาะการฆ่า ดอกกุหลาบที่เขาถือติดตัวนั่นก็เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสิ่งที่สวยงามเพียงเปลือกนอก แต่ถ้าเล่นกับมันมากก็อาจจะโดนหนามทิ่มตำเอาให้เจ็บปวดได้ เช่นเดียวกับตัวของบิโจมารุเอง ที่ภายนอกดูเหมือนกะเทยทั่วไป (บางคนคิดว่าเขาเป็นผู้หญิงด้วยซ้ำ) แต่หากโดนตอแยหรือดูหมิ่นมากๆเข้า หนามที่ซ่อนเอาไว้ก็จะปรากฏออกมา ต่างกันตรงที่ดอกกุหลาบเพียงทำให้เจ็บปวด แต่บิโจมารุกลับทำให้ถึงแก่ความตายได้ และนี่ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่โจสามารถแสดงออกมาได้ดีพอสมควร ทั้งสีหน้าท่าทาง ดูเป็นได้ทั้งกะเทยและคนโรคจิตในเวลาเดียวกัน ไ่ม่กรีดกรายมากนักเนื่องจากต้องคงความเป็น “นักฆ่า” ไว้นั่นเอง

null

ส่วนในด้านคิวบู๊ในเรื่องนี้ คอ Martial Art คงจะขัดใจเล็กน้อย เพราะการบู๊แบบซามูไรนั้นไม่เหมือนการดวลกระบี่อย่าง Crouching Tiger Hidden Dragon ที่ต้องผ่านไป 4-5 นาทีจึงจะรู้ผล ซามูไรจะตัดสินแพ้ชนะเพียงไม่กี่ดาบ อาศัยความไวและความเฉียบขาด ซึ่งถ้าเข้าใจในหลักตรงนี้ก็คงจะทำให้ดูได้อย่างไม่ติดขัดอะไร ฉากบู๊ไม่ถึงกับดุเดือด แต่อาศัยความ Hardcore มาทดแทน ที่พอจะทำให้ฉากบู๊เหล่านี้ดูน่าสนใจขึ้น ขอบอกครับว่า เลือดสาดจริงๆ ทุกฉากล้วนแต่มีเลือดกระฉูดทั้งสิ้น ทำให้ดูแล้วรู้สึกสะใจพอสมควร แม้ฉากบู๊จะไม่ถึงกับสนุกมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าฉากไคลแมกซ์การดวลระหว่างอาซูิมิ และบิโจมารุ สามารถทำออกมาได้ดีกว่าฉากบู๊ทุกฉาก สมกับที่เป็นฉากไคลแมกซ์ของเรื่อง

Azumi อาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการดูคิวบู๊งามๆ แบบโลดโผนได้มากนัก แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่และให้คุณค่าได้มากกว่า คือวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่ส่งเสริมให้คนในประเทศเขาเจริญมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังตั้งคำถามว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุดในหน้าที่ ล้วนแล้วแต่เป็นสาระที่ทางผู้สร้างได้ทิ้งไว้ให้คนดูได้คิด Azumi จึงกลายเป็นหนังบู๊ที่ดูมีคุณค่าและได้อะไรหลายๆอย่างมากกว่าจะมาไล่ฟันกันเฉยๆ แล้วก็จากไป  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมหนังเรื่องนี้จึงประสบความสำเร็จ และกลายเป็นหนึ่งในตำนานของหนัง Cult-Action แห่งทศวรรษ

null


คะแนนรวม 8.5/10   ดีกว่าที่คิดครับ

ฉากเด็ด ไคลแมกซ์การดวลระหว่างอาซูมิและบิโจมารุ ที่ำทำได้ดีกว่าฉากบู๊อื่นๆในเรื่อง และเหมาะสมกับการเป็นฉากไคลแมกซ์มากๆครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย  Wikipedia

Directed by Ryuhei Kitamura
Produced by Toshiaki Nakazawa
Mataichiro Yamamoto
Written by Mataichirô Yamamoto
Music by Taro Iwashiro
Studio Toho
Released May 10, 2003
Runtime 142 minutes

โปสเตอร์แบบอินเตอร์

“ไม่ใช้สตั๊นท์  ไม่ใช้สลิง  ไม่ใช้ตัวแสดงแทน” นี่คือประโยคบรรยายสรรพคุณของนักบู๊หนุ่มชาวไทย “จา พนม ยีรัมย์” (หรือในชื่อปัจจุบันว่า ทัชชกร  ยีรัมย์)  ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก จนได้รับชื่ออินเตอร์ว่า “โทนี่ จา” (Tony Jaa) ในเวลาต่อมา
ภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคนไทยในเวลานั้น  เพราะนอกจากจะเป็นหนังที่ปลุกกระแสหนัง Martial Art ไทยที่ซบเซาอยู่นานแล้วให้กลับมาคึกคักกระปรี้กระเปร่าขึ้นอีกครั้งแล้ว มันยังเป็นหนังที่สอดแทรกเอกลักษณ์ความเป็นไทยไว้อย่างเต็มเปี่ยม ที่เด่นชัดที่สุดคงจะไม่พ้น มวยไทย และการประกาศตนว่าเป็นเมืองพุทธอย่างแท้จริงด้วยสิ่งที่มีค่าที่สุดที่ต้องตามล่ากันในเรื่องอย่างเศียรพระองค์บาก ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้องค์บากกลายเป็นหนังทำเงินทั้งในไทยและในต่างประเทศ พร้อมกับเสียงวิจารณ์ในแง่บวกและชื่นชมไปได้อย่างไม่ยากเย็น

ทิ้ง ประดู่พลิ้ว VS โตชิโร่

องค์บาก เป็นเรื่องราวของ ทิ้ง ประดู่พลิ้ว(จา-ทัชชกร  ยีรัมย์) หนุ่มอีสานที่ต้องเข้ามาในกรุงเทพ เพื่อตามหาเศียรพระองค์บาก ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านหนองประดู่ ที่ถูกลักลอบขโมยไปโดยพวกของ ดอน(เบท-วรรณกิตติ์ สิริพุฒ) เพื่อเอามาขายให้กับ คมทวน(สุเชาว์  พงศ์วิไล) มหาเศรษฐีใจบาปผู้ชอบสะสมโบราณวัตถุเป็นชีวิตจิตใจที่อยู่ในกรุงเทพนั่นเอง ที่กรุงเทพทิ้งได้พบกับ บักหำแหล่(หม่ำ  จ๊กมก-เพ็ชรทาย  วงศ์คำเหลา) ลูกชายผู้ใหญ่บ้านหนองประดู่ ที่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ยอร์จ แท็กทีมกับ หมวยเล็ก(แอ-ภุมวารี  ยอดกมล ) สาวห้าวปากร้ายร่วมมือกันเป็น 18 มงกุฏ ต้มตุ๋นชาวบ้านจนสร้างศัตรูไว้ทั่วเมือง

ทิ้งได้ช่วยเหลือยอร์จและหมวยเล็กจากการตามล่าของผู้มีอิทธิพล(ที่ยอร์จและหมวยเล็กไปต้มเขามา) ทำให้ยอร์จได้เห็นความสามารถด้านมวยไทยของทิ้ง และคิดจะใช้ประโยชน์นี้เพื่อให้ทิ้งไปชกมวยเถื่อน และตนจะพนันมวยข้างทิ้ง หากทิ้งชนะ ยอร์จเองก็จะได้เงินพนันไปด้วย ตอนแรกทิ้งไม่ร่วมมือ เพราะเห็นว่าเป็นการใช้ความรู้ด้านมวยไทยในทางที่ผิด แต่เมื่อยอร์จบอกว่า หากทิ้งร่วมมือกับตน ตนจะบอกที่อยู่ของดอนให้ ทิ้งจึงจำต้องเผชิญหน้ากับวงการอิทธิพลมืด เพื่อนำเศียรพระองค์บากกลับมาให้ทันพิธีอุปสมบทหมู่ให้ได้

ตัวละครหลัก

null

ทิ้ง  ประดู่พลิ้ว(จา-ทัชชกร  ยีรัมย์) เด็กหนุ่มจากบ้านหนองประดู่  ผู้ต้องตามหาเศียรพระองค์บากที่ถูกลักลอบเอาไป  โดยใช้ความสามารถด้านมวยไทยรับมือกับเหล่าอิทธิพลมืด เด็กหนุ่มต่างจังหวัดผู้นี้จะทันเล่ห์เหลี่ยมของชาวกรุงได้หรือ?

null

บักหำแหล่ หรือ ยอร์จ(หม่ำ จ๊กมก – เพ็ชรทาย  วงศ์คำเหลา) ลูกชายผู้ใหญ่บ้านผู้ละทิ้งท้องนามาสู่ป่าคอนกรีต เจ้าเล่ห์เป็นที่หนึ่ง ร่วมมือกับหมวยเล็กเป็น 18 มงกุฏ คิดหาทางรวยด้วยการให้ทิ้งไปชกมวยเถื่อน แล้วพนันข้างทิ้ง

null

หมวยเล็ก(แอ-ภุมวารี  ยอดกมล) สาวหมวยร่างเล็กสุดห้าว  ร่วมมือกับยอร์จต้มตุ๋นชาวบ้าน แต่แท้จริงแล้วเป็นเด็กมีปัญหา เนื่องจากไม่ต้องการเิงินที่พี่สาวขายยาเสพติดส่งเีสีย  เธอจึงตัดสินใจที่จะหาเงินเอง  โดยไม่สนใจว่านั่นจะเป็นเงินที่ได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่?

null

คมทวน(สุเชาว์  พงษ์วิไล) มหาเศรษฐีวัยชราผู้ชื่นชอบการสะสมโบราณวัตถุเป็นชีวิตจิตใจ  นอกจากนี้ยังชอบเล่นพนันมวยเถื่อนอีกด้วย เป็นคนพิการนั่งบนวีลแชร์ และเป็นมะเร็งกล่องเสียงจากการสูบบุหรี่จัด

องค์บากเปิดเรื่องด้วยฉากแข่งกันไปเก็บยอดธงบนต้นไม้  ซึ่งเป็นฉากที่ดูสนุกพอสมควร ทั้งยังผสมผสานระหว่างการโชว์สตั๊นท์กับประเพณีการละเล่นของชาวอีสานไว้ได้อย่างกลมกลืน การดำเนินเรื่องขององค์บากก็เป็นไปอย่างเรื่อยๆ ไม่มีพลิกล็อคหรือหักมุมใดๆ จะมีก็แต่หักเหลี่ยมบ้างเล็กน้อย(หักเหลี่ยมกับหักมุมไม่เหมือนกันนะจ๊ะ)  พูดง่ายๆว่าไม่มีพล็อตรอง มีแต่พล็อตหลักๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน  แต่ก็พยายามสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมเป็นระยะๆ  ทั้งฉากไล่ล่าและฉากต่อสู้แบบมวยไทย  สลับกันเข้ามาให้ความสนุก  มีกลิ่นอายคอเมดี้แทรกเข้ามาอย่างแนบเนียน โดยยังไว้ลายความเป็นหนังแอ็คชั่นได้อย่างเต็มรูปแบบ

ตัวละครหลักมีการปูพื้นฐานมาในระดับหนึ่ง  โดยเฉพาะตัวของทิ้งกับหมวยเล็ก ที่อยู่กันคนละสังคม และแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทิ้งเป็นเด็กหนุ่มซื่อๆชาวอีสาน แม้จะเป็นเด็กกำพร้าแต่ก็ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างอบอุ่น และเป็นที่รักของชาวบ้าน แต่ถึงจะเจนจัดในด้านการต่อสู้อย่างไร เขาก็ยังอ่อนต่อโลก ด้วยนิสัยซื่อๆ จึงทำให้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของคนเมืองกรุง โดนปั่นหัวครั้งแล้วครั้งเล่า อาศัยว่าเป็นคนที่มีฝีมือจึงเอาตัวรอดมาได้ ส่วนหมวยเล็กเป็นหญิงสาวที่ต้องการหาเงินด้วยตนเอง  เพราะไม่ต้องการเงินที่พี่สาวส่งเสียมาให้  ด้วยเห็นว่าเงินเหล่านั้นเป็นเงินที่พี่สาวได้มาโดยต้องเสียศักดิ์ศรีของตนเอง ทั้งขายยา ขายตัว หมวยเล็กจึงคิดจะหาเงินด้วยตนเอง โดยหารู้ไม่ว่าการหลอกลวงต้มตุ๋นเขาก็เป็นการหมิ่นศักดิ์ศรีของตนเองเช่นกัน

null

จึงเห็นได้ชัดว่าทิ้งนั้นเปรียบเสมือนตัวแทนของคนบ้านนอก ที่ต้องเข้ามาในเมืองกรุง ที่ภายนอกดูเป็นเมืองที่อาบด้วยแสงสีตระการตา แต่แท้จริงแล้วกลับซ่อนอันตรายไว้อย่างใหญ่หลวง หมวยเล็กเองก็เป็นได้กับตัวแทนของคนกรุงที่ต้องหาเลี้ยงชีพไปวันๆตามมีตามเกิด แม้จะต้องต้มตุ๋นเขาก็ยังดีกว่าปล่อยให้ตัวเองอดตาย  ส่วนยอร์จ หรือ บักหำแหล่ เป็นตัวแทนของชาวบ้านนอกที่เบื่อหน้าท้องนาและกลิ่นโคลนสาบควาย  ต้องการจะมาหางานทำในกรุงเทพ ที่หวังว่าจะเป็นเืมืองฟ้าอมร  แต่มันก็ไม่ได้เลิศหรูอย่างที่เขาคิด  ซ้ำร้ายยังลำบากกว่าบ้านนาที่ตนเคยจากมาเสียอีก  นอกจากนี้ยอร์จยังทำหน้าที่เชื่อมโยงสังคมทั้งสองนี้ให้อยู่ร่วมกัน ในฐานะที่เคยอาศัยมาแล้วทั้งสองสังคม แต่ดูตัวหนังจะยังไม่ได้ปูพื้นฐานด้านชาวอีสานของยอร์จให้ได้เท่าที่ควร น่าจะมีฉากแฟลชแบ็คกลับไปว่าสมัยที่ยอร์จยังเป็น “บักหำแหล่” อยู่นั้น มีความเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งหากมีฉากประเภทนี้แล้วคงจะสามารถส่องให้เห็นสถานะของ “วัวลืมตีน” อย่างยอร์จได้มากขึ้น

หนังสอดแทรกภัยมืดของสังคมได้อย่างเต็มอัตรา  โดยเฉพาะสังคมด้านมืดของกรุงเทพ  ในอีกด้านหนึ่งที่หลายคนไม่เคยเห็น  ทั้งปัญหาต้มตุ๋น ปัญหาอันธพาล มวยเถื่อน และ “เด็กแว๊น” รวมไปถึงชาวต่างชาติทั้งหลายก็ล้วนปรากฏอยู่ในปัญหาเหล่านี้ทั้งสิ้น ทำให้เกิดความสงสัยว่า ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยทั้งหลายนั้น มาเที่ยวเพราะชอบวัฒนธรรมไทย หรือต้องการสัมผัสกับความสนุกบนความทุกข์ของผู้อื่นกันแน่ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำไปสรุปรวบยอดตรงสิ่งที่ผู้สร้างต้องการจะสื่อสารคือ ต้องการให้คนไทยนั้นหันมารักและสนใจประเพณีพื้นบ้าน ดีกว่าไปหลงใหลมัวเมาวัฒนธรรมต่างประเทศจนเกินงาม

null

ด้วยการที่เป็นพระเอกนำเรื่องแรก  ทำให้จาดูจะเกร็งๆไปบ้าง  กับการแสดงทางด้านอารมณ์  เช่น การใช้สายตาสื่อความโกรธ  ความเศร้า  ความผิดหวัง  เน้นพูดน้อย ต่อยหนักเสียส่วนใหญ่  แต่ก็ถือว่าทำได้ในระดับที่โอเค  ไม่ได้เลวร้ายอะไร อีกอย่างอาจเป็นเพราะตัวบทต้องการให้โชว์ทักษะทางคิวบู๊โดยเฉพาะด้วย ไหนจะโดนตลกรุ่นพี่อย่างหม่ำคอยยิงมุกขโมยซีนเป็นระยะๆ  ทำให้บางครั้งก็เหมือนกับได้ดู Rush Hour เวอร์ชั่นไทยไปพลางๆ

สำหรับตัวแสดงอื่นๆก็ถือว่าทำหน้าที่ของตนเองได้ดี หม่ำนี่ไม่ต้องพูดถึง แม้จะเอาฮาเกือบทั้งเรื่อง แต่ก็มีโซนดราม่ากับเขาเหมือนกัน จะพร่องหน่อยก็ตรงที่ฉากอ่านจดหมายของพ่อ ที่ีดูจะอ่านเร็วเกินเหตุ ส่ายสายตาไปมาจนเราดูยังตกใจว่า เฮ้ย พ่อมันเขียนจดหมายบรรทัดละคำหรือไงวะ ส่ายหัวเร็วขนาดนั้น แต่โดยรวมก็ถือว่าเป็นสีสันที่ขาดไม่ได้เลยของเรื่อง อีกสีสันหนึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นหมวยเล็ก หรือคุณแอ ที่เล่นได้ดีทีเดียว ทั้งหน้าตาและน้ำเสียงเรียกได้ว่า ตีบทแตกกระจาย ส่วนตัวร้ายระดับพระกาฬอย่างคุณสุเชาว์ก็ทำหน้าที่ได้หายห่วง ท่านนี้เรียกได้ว่าเป็นอัจฉริยบุคคลด้านการแสดงอีกคนหนึ่งของเมืองไทยเลยทีเดียว แม้จะได้รับบทร้ายเสียส่วนใหญ่ แต่ลองไปหาบทดีๆของท่านมาดู ตามหนัง ตามละครอะไรก็ตามแต่ แล้วคุณจะลืมภาพตัวร้ายของท่านลงไปในทันที

null

และอีกส่วนทีไม่พูดถึงคงไม่ได้ เพราะเป็นจุดขายของเรื่อง คงจะหนีไม่พ้นคิวบู๊ครับ คิวบู๊นั้นเรียกได้ว่าทำออกมาได้เจ๋งจริงๆ เข้าถึงเอกลักษณ์ของมวยไทย โดยเฉพาะท่วงท่าลีลาการตั้งการ์ดแบบไทยแท้ๆ เชื่อว่าหลายๆท่านที่เคยชม คงจะจำฉากที่จาพูดว่า “บาทาลูบพักตร์” ได้ เป็นฉากที่เท่จริงๆครับ ฉากบู๊หนักหน่วงแต่ก็ไม่ถึงกับโหดเลือดสาด นำเอามวยไทยมาแสดงการคารวะในหนังได้อย่างน่าชื่นชม ยิ่งประยุกต์เข้ากับฉากไล่ล่าสุดระทึก และฉากแอ็คชั่นเสี่ยงตายที่ประเคนกันเข้ามาแล้ว มันช่างแนบเนียนกลมกลืนกันดีจริงๆ ทั้งการตัดต่อที่เฉียบไวและฉากสโลว์โมชั่นซ้ำๆกันหลายๆครั้ง เพิ่มความหนักแน่นให้กับคิวบู๊ได้เป็นอย่างดี และที่ชอบเป็นพิเศษก็คือ ดนตรีประกอบที่ได้อารมณ์ความเป็นไทย และผสมผสานความตื่นเต้นไปด้วยในตัวอย่างกลมกลืน

นอกจากวัฒนธรรมไทยอย่างมวยไทยแล้ว เอกลักษณ์ไทยก็เป็นสิ่งสำคัญ เอกลักษณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นวัฒนธรรม ขอเพียงแต่เป็นสิ่งที่ประเทศอื่นเขาไม่มี แต่ประเทศไทยมีอยู่ประเทศเดียว ก็นับว่าเป็นเอกลักษณ์แล้ว และนี่คงเป็นสิ่งหนึ่งที่คนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วต้องพูดถึง นั่นคือ รถตุ๊กตุ๊ก นั่นเองครับ ฉากประทับใจของหลายๆท่านที่ได้ชมหนังเรื่องนี้ คงจะไม่พ้นฉากตุ๊กตุ๊กอันลือลั่น ที่ทำออกมาให้ประหนึ่งกับหนังอย่าง Fast & Furious ของเฮีย วิน ดีเซล เลยทีเดียว  ดูตื่นตาตื่นใจและมีเสน่ห์ความเป็นไทยในเวลาเดียวกันจริงๆ

null

องค์บากเป็นหนังไทยอีกเรื่องที่ทำออกมาได้ดีเยี่ยม และครบรส  ถึงพร้อมสำหรับความลงตัวในด้านของคิวบู๊ กับศิลปะที่เป็นความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติอย่างมวยไทย และการสอดแทรกวัฒนธรรมไทย รวมถึงสังคมของคนไทยที่มีทั้งด้านดีและด้านร้าย ทั้งยังเป็นการแจ้งเกิดของ โทนี่ จา อีกด้วย หากคุณชอบหนังบู๊และเป็นคนไทยแล้ว องค์บาก จึงเป็นหนังที่คุณไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง


คะแนนรวม 9/10

ฉากเด็ด

ฉากเด็ดที่อยากให้ทุกท่านได้ชมนี้ ก็เป็นฉากการต่อสู้ในบาร์มวยเถื่อน เป็นการปะทะกันระหว่าง ทิ้ง  ประดู่พลิ้ว กับคู่ต่อสู้สามคนที่หมุนเวียนกันมาสู้กับพระเอก บิ๊กแบร์ ฝรั่งจอมเกรียนที่บังอาจมาด่ามวยไทย , โตชิโร่ นักสู้อาทิตย์อุทัยจอมป่วน และ กอร์กอน แมดด็อก ที่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “ไอ้หมาบ้า” จะมันส์ขนาดไหน ไปชมกันเลยครับ

และปิดท้ายกันด้วยภาพหวานๆในปัจจุบัน ของสาว แอ ภุมวาีรี ยอดกมล นางเอกของเรื่องกันครับ เรียกได้ว่าสวยขึ้นจนจำกันไม่ได้เลยทีเดียว
null

null

null

null

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย Wikipedia

ผู้กำกับ ปรัชญา ปิ่นแก้ว
อำนวยการสร้าง ปรัชญา ปิ่นแก้ว
สุกัญญา วงค์สถาปัตย์
บทภาพยนตร์ ศุภชัย สิทธิอำพรพรรณ
นักแสดงนำ ทัชชกร ยีรัมย์
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
ภุมวารี ยอดกมล
สุเชาว์ พงษ์วิไล
เพลงประกอบ Atomix Clubbing Studio
กำกับภาพ ณัฐวุฒิ กิตติคุณ
ตัดต่อ ธนัติ สุนสิน
ฐานพัฒน์ ทวีสุข
จัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม
วันที่เข้าฉาย 31 มกราคม พ.ศ. 2546
ความยาว 104 นาที
ประเทศ ไทย
ภาษา ไทย
งบประมาณ 35 ล้านบาท